My Community

บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ มีนาคม 20, 2015, 11:33:22 AM

หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ มีนาคม 20, 2015, 11:33:22 AM

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  20  มีนาคม  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางตอนบน


2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น (JAMA) คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ใหม่ญี่ปุ่นจะปรับตัวลดลงร้อยละ 5.4 จากปีก่อน แตะ 4.992 ล้านคันในปีงบการเงิน 2558 ซึ่งลดลงต่ำกว่าระดับ 5 ล้านคันเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เนื่องจากผลกระทบของการปรับขึ้นภาษีการบริโภคปีที่แล้ว ประกอบกับแผนปรับขึ้นภาษีรถยนต์ขนาดเล็ก


3.เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ ตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงที่สุดในรอบกว่า 2 ปี ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกที่ทรุดตัวลง ทั้งนี้ตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 สู่ระดับ 1.135 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4 จากระดับ 9.89 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาส 3 โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 1.2 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 0.1 สำหรับตลอดทั้งปี 2558 สหรัฐฯ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 สู่ระดับ 4.106 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขขาดดุลรายปีที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2554


- รัฐมนตรีคลังของอังกฤษว่ารัฐบาลอังกฤษได้ปรับเพิ่มลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 2558 และ 2559 ในรายงานงบประมาณดังกล่าว โดยสำนักงบประมาณของอังกฤษได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 2558 จากร้อยละ 2.4 เป็นร้อยละ 2.5 และสำหรับปี 2559 จากร้อยละ 2.2 เป็นร้อยละ 2.3


- คอนเฟอร์เรนซ์บอร์ด เปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 สู่ระดับ 11.4 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.4 ในเดือนมกราคมและธันวาคม ตามลำดับ


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยรายงานว่าดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิดแอตแลนติกชะลอตัวสู่ระดับ 0.5 ในเดือนมกราคม จาก 5.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 8.0 หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 40.8 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 1993 โดยตัวเลขที่ต่ำกว่า 0 บ่งชี้ถึงการหดตัวขณะที่ตัวเลขที่สูงกว่า 0 บ่งชี้ถึงการขยายตัว


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.71 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 120.65 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.68 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดตลาดที่ 43.96 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 0.70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ


- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเมษายน ที่ตลาดลอนดอนลดลง 1.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 54.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


- รมว.น้ำมันคูเวต กล่าวว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) ไม่มีทางเลือก นอกจากตรึงกำลังการผลิตน้ำมันต่อไป ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าภาวะตลาดน้ำมันจะยังคงเผชิญปริมาณจำนวนมากต่อไป โดยโอเปกตกลงคาเพดานการผลิตน้ำมัน แม้ราคาตกต่ำลงเนื่องจากวิตกว่าผลผลิตน้ำมันจาก Shale oil ของสหรัฐจะกระทบต่อส่วนแบ่งในตลาดน้ำมันโลกของโอเปก


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 217.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 211.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 171.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 14 มีนาคม เพิ่มขึ้น 1,000 ราย สู่ระดับ 291,000 ราย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 292,000 ราย


- รัฐสภากรีซ  แบบร่างกฎหมายขจัดความยากจนที่มีต้นเหตุมาจากวิกฤตหนี้สาธาณะที่ยืดเยื้อมานาน 5 ปี โดยบรรดาเจ้าหนี้ต่างประเทศของกรีซได้คัดค้านความเคลื่อนไหวครั้งนี้ โดยมองว่าเป็นมาตรการแต่เพียงฝ่ายเดียว และไม่สอดคล้องกับข้อตกลงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งยูโรโซนยอมยืดเวลาให้กรีซในการบรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้ายไปจนถึงเดือนมิถุนายน หลังจากที่ข้อตกลงให้ความช่วยเหลือกรีซ ระยะ 4 ปี หมดอายุไปเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน


8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากสภาวะที่ผลผลิตวัตถุดิบมีน้อย และผู้ประกอบการเร่งซื้อเก็บสต๊อคก่อนที่จะขาดแคลนมากกว่านี้ และก่อนที่องค์การสวนยางจะเข้ามาซื้ออีกในช่วงเปิดกรีดยางรอบใหม่


แนวโน้ม   ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยนและมีแรงหนุนจากอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับนักลงทุนมีมุมองบวกเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลจีน  อย่างไรก็ตาม ราคายางปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เพราะยังมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวลดลง และข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนแรงลงของสหรัฐฯ


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา