4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 34.21 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.87 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.48 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ |
5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคมปิดตลาดที่ 51.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.63 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก และสต๊อคน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง รัฐโอกลาโฮมา ปรับตัวสูงขึ้น- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดที่ 57.05ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.46 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลงมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบลดลง 4.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 461.4 ล้านบาร์เรล เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2558 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 900,000 บาร์เรล |
6. การเก็งกำไร | - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 196.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 208.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 163.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม |
7. ข่าว | - รัฐสภากรีซมีมติอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจฉบับใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐบาลกรีซได้ทำข้อตกลงร่วมกับกลุ่มเจ้าหนี้ยูโรโซนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อแลกกับการรับความช่วยเหลือด้านการเงินครั้งใหม่- ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคจาก 15 ประเทศในยุโรปเผยให้เห็นว่า การเจรจาที่ยืดเยื้อระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวยุโรปในไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยรายงานระบุว่าวิกฤตหนี้มีผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภคชาวยุโรปในช่วงไตรมาส 2 ส่งผลให้การคาดการณ์เศรษฐกิจในหลายประเทศออกมาซบเซา |
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เพราะเงินบาทอ่อนค่าและแหล่งข่าวรายงานว่า โรงงานส่วนมากขาดแคลนวัตถุดิบต้องเร่งซื้อเพื่อให้คนงานมีงานทำ อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมราคายางยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ยังคงซบเซา ดังนั้นหากผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลเชิงลบต่อราคายางได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน |