My Community

บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ พฤศจิกายน 18, 2015, 10:57:42 AM

หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ พฤศจิกายน 18, 2015, 10:57:42 AM

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  18  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีฝนกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช จนถึงนราธิวาส ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ10-20 ของพื้นที่

2.การใช้ยาง


- ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า ปี 2559 คาดยอดการผลิตรถยนต์ รวม 1.95 ? 2.0 ล้านคัน โดยคงเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5-10 จากปีนี้ 1.2 ล้านคัน ส่วนตลาดในประเทศอาจชะลอ เพราะได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์-ใหม่ ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น

3. เศรษฐกิจโลก


- ศูนย์จัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมนีที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศ พุ่งขึ้นแตะ 10.4 จุด ในเดือนพฤศจิกายน จากระดับ 1.9 จุดในเดือนตุลาคม

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนตุลาคม โดยปรับตัวลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบรายปี หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 เช่นกันในเดือนกันยายน

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากลดลงติดต่อกัน 2 เดือน และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนตุลาคม

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลงร้อยละ 0.2 ในเดือนตุลาคม โดยลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัว

- เรดบุ๊ค รีเสิร์ช รายงานว่า ยอดค้าปลีกทั่วประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในช่วง2 สัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนตุลาคม ขณะที่ตัวเลขเป้าหมายอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบกับตัวเลขเป้าหมายที่ระดับร้อยละ 2.2

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 36.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.11 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 123.46 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.12 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 40.67 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีการคาดการณ์ว่าสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งกระแสคาดการณ์ดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะปริมาณน้ำมันล้นตลาด

- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 0.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 43.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 149.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 156.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 121.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านปรับตัวลง 3 จุด สู่ระดับ 62 ในเดือนพฤศจิกายน แต่ยังอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี หรือนับตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2005

8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางยังคงซบเซาตามตลาดต่างประเทศ จากกระแสข่าวรายวันที่ออกมาในเชิงลบอย่างต่อเนื่อง  นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ย่ำแย่ และสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั่วโลก ส่งผลต่อความต้องการใช้ยางชะลอลงด้วย

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดโตเกียวและราคาน้ำมัน  ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า หลังจากมีรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อเดือนตุลาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ตาม เงินเยนและเงินบาทอ่อนค่าและอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยจากภาคใต้ยังมีฝนตกในหลายพื้น  ซึ่งส่งผลเชิงบวกต่อราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา