My Community

บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ พฤศจิกายน 23, 2015, 11:51:33 AM

หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ พฤศจิกายน 23, 2015, 11:51:33 AM

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  23  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้มีเมฆมาก กับมีฝนกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2.การใช้ยาง


- สมาคมกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ได้ประมาณการผลิตยางธรรมชาติของประเทศสมาชิกในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 10.937 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วที่มีปริมาณการผลิต 10.952 ล้านตัน

3.สต๊อกยาง


- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 มีจำนวน 230,759 ตัน เพิ่มขึ้น 2,147 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.94 จากสต๊อกยางเดิม 228,612 ตัน ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558

- สต๊อกยางญี่ปุ่น วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 ลดลง 346 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4.78 แตะระดับ 6,899 ตัน จากสต๊อกยางเดิม 7,245 ตัน ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2558

4.เศรษฐกิจโลก


- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า เฟดควรเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้า ขณะที่กรรมการเฟดมีความเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นจากระดับต่ำ และการจ้างงานจะยังคงมีเสถียรภาพ โดยมีความเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่ระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0

- รายงานของนิลสัน ซึ่งเป็นบริษัทด้านการสำรวจตลาดระดับโลก ระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงแข็งแกร่งในไตรมาส 3 ปี 2558 โดยดัชนีจีนของนิลสัน ลดลง 1 จุด จากไตรมาส 2 มาอยู่ที่ 106

- ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2558

    GDP ขยายตัวร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7
    การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 อยู่ที่ระดับ 106.0 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 อยู่ที่ระดับ 104.5
    การส่งออกและการนำเข้า ไตรมาส 3 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 7.7 และ 4.9 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ร้อยละ 4.1 และ 3.7 ตามลำดับ
    อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.8
    อัตราว่างงาน อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.2

- ภาวะเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 3 ปี 2558

    GDP ขยายตัวร้อยละ 6.9 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.2
    การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.0
    การส่งออกและการนำเข้า ไตรมาส 3 ปี 2558 หดตัวร้อยละ 5.9 และร้อยละ 14.4 เทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.9 และ 1.2 ตามลำดับ
    อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.80 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 123.11 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.14 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 40.39 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากมีความคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันจะเพิ่มสูงกว่าอุปสงค์

- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 0.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 44.66 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

7. การเก็งกำไร


-TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 ปิดทำการเนื่องจากเป็นวันขอบคุณชนชั้นแรงงาน

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 122.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง

8. ข่าว


- รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า ผู้บริหารของเฟดได้ดำเนินการในทุกวิถีทางที่สามารถทำได้เพื่อเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตลาดเงินของประเทศต่าง ๆ จากการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ

9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพราะไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด ถึงแม้ว่าผลผลิตยางยังมีปริมาณน้อย เพราะภาวะฝนตกต่อเนื่อง แต่ตลาดต่างประเทศยังคงซบเซา ส่งผลให้ราคาไม่ค่อยเคลื่อนไหวมากในระยะนี้ ต้องรอดูสถานการณ์หลังเทศกาลคริสมาสและปีใหม่

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากภาคใต้ยังเผชิญกับภาวะฝนตกหนัก และนักลงทุนมีมุมมองบวก หลังจากมีข่าวว่าธนาคารกลางจีนเตรียมดำเนินมาตรการเพื่อหนุนสภาพคล่องสำหรับสถาบันการเงิน ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ขณะสต๊อกยางจีนเพิ่มขึ้น แตะระดับสูงสุดในปีนี้อย่างต่อเนื่อง มีระดับ 230,759 ตัน ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน จากระดับ 228,612 ตัน
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา