My Community
บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ พฤศจิกายน 25, 2015, 12:23:27 PM
-
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบาแห่ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ขณะที่ภาคอื่น ๆ อากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิลดลงได้ 6 - 8 องศาเซลเซียส
2. การใช้ยาง
- กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า เดือนตุลาคมมีการส่งออกรถยนต์ 111,229 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.07 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เดือนตุลาคมสามารถผลิตรถยนต์ได้ 165,381 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.52 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ในช่วง 10 เดือนของปีนี้ สามารถผลิตรถยนต์ได้ทั้งสิ้น 1,597,140 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.84 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. เศรษฐกิจโลก
- สถาบันวิจัยเศรษฐกิจเยอรมัน (Ifo) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 109.0 ในเดือนพฤศจิกายน จาก 108.2 ในเดือนตุลาคม เป็นระดับสูงสุดอันดับ 2 นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส สูงกว่าตัวเลขประเมินก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 1.5 อย่างไรก็ตามยังต่ำกว่าไตรมาส 2 ที่ร้อยละ 3.9 แต่สูงกว่าไตรมาสแรกที่ร้อยละ 0.6
- คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลงในเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 90.4 หลังจากแตะระดับ 99.1 ในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ดัชนีประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันลดลงสู่ระดับ 108.1 ในเดือนพฤศจิกายน
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาริชมอนด์ เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจภาคการผลิตในภูมิภาคแอตแลนติกตอนกลางลดลงสู่ระดับ -3.0 ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากอยู่ที่ระดับ -1.0 ในเดือนตุลาคม ซึ่งหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ และอุปสงค์ที่อ่อนแอ
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.70 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 122.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.34 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดตลาดที่ 42.87 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.12 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าเครื่องบินรบรัสเซียถูกยิงตกบริเวณชายแดนซีเรีย เนื่องจากการรุกล้ำน่านฟ้า ซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดที่ 46.12 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.29 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 151.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 156.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 121.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า มีความเป็นไปได้อย่างมากที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินของเฟดประชุมในวันที่ 15 - 16 ธันวาคมนี้
- คณะที่ปรึกษากระทรวงการคลังญี่ปุ่นปรับลดค่าใช้จ่ายสวัสดิการสังคมในปีงบประมาณ 2559 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนเศรษฐกิจในช่วง 5 ปี และแผนการฟื้นฟูการคลัง โดยญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ขนาดของสังคมหดตัวลงเนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดลง ต้นทุนสวัสดิการสังคมกลับเพิ่มขึ้น
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศและปริมาณผลผลิตที่มีน้อยมาก
หลายโรงงานเริ่มขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีความเสี่ยงจากอุปสงค์ยางในภาพรวม จึงต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.1 สูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 1.5 รวมทั้งอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยจากสภาพอากาศทางภาคใต้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา