My Community
บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ มกราคม 04, 2016, 12:07:31 PM
-
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยตอนบนโดยทั่วไปมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ทำให้โดยทั่วไปสภาพอากาศเอื้อต่อการกรีดยาง ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2. การใช้ยาง
- ประธานสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บภาษียานยนต์ของประเทศ เนื่องจากมีการขึ้นเฉพาะภาษียานพาหนะ จะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีความยากลำบากที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจประเทศภายใต้สถานการณ์จัดเก็บภาษีในปัจจุบัน โดยมีรายงานว่าประธานสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นกล่าวว่ายอดจำหน่ายรถใหม่ในญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 11 เดือนจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2558
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 1 มกราคม 2559 เพิ่มขึ้น 9,118 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80 อยู่ที่ 249,307 ตัน จากระดับ 240,189 ตัน เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2558
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2558 ลดลง 4 ตัน หรือลดลงร้อยละ 0.07 อยู่ที่ 6,109 ตัน จากระดับ 6,105 ตัน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- ผลการสำรวจของสำนักข่าวเกียวโต นิวส์ พบว่า เกือบร้อยละ 90 ของบริษัทญี่ปุ่นคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในปี 2559 ขณะที่หลายบริษัทคาดว่าการบริโภคของภาคเอกชนและการใช้จ่ายด้านทุนจะฟื้นตัวหลังจากที่ชะลอตัวลงในปี 2558
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขยับขึ้นแตะระดับ 49.7 ในเดือนธันวาคม 2558 จาก 49.6 ในเดือนพฤศจิกายน 2558
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน และสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขยายตัวขึ้นสู่ระดับ 54.4 จาก 53.6 ในเดือนพฤศจิกายน นับเป็นสถิติการขยายตัวสูงที่สุดในปี 2558
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่น้อยกว่าการคาดการณ์ เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้กล่าวว่าภาคการเงินในหลายประเทศยังอ่อนแอและความเสี่ยงด้านการเงินในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่กำลังเพิ่มขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่อาจทำให้เศรษฐกิจปี 2559 มีแนวโน้มซบเซาลง
- สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐจีนเปิดเผยว่า เดือนพฤศจิกายนจีนมียอดเกินดุลการค้าและบริการที่ 3.58 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่มียอดเกินดุลที่ 4.57 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ ร่วมกับไฉซิน เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนธันวาคมลดลงสู่ระดับ 48.2 จาก 48.6 ในเดือนพฤศจิกายน บ่งชี้ว่าภาวะการดำเนินงานของกลุ่มผู้ผลิตยังคงย่ำแย่ลงในเดือนธันวาคม
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 36.16 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.07 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 120.28 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปิดตลาดที่ 37.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีอิหร่านสั่งเตรียมพร้อมโครงการขีปนาวุธของประเทศเพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปิดที่ 37.28 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.82 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรลเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 23,000 บาร์เรลต่อวันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แตะ 9.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยผลผลิตของสหรัฐฯ ปรับตัวลงจากระดับสูงสุดเมื่อเดือนเมษายน
7. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 145.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ 154.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 5.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 120.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว
- ราคาบ้านใน 100 เมืองของจีนโดยเฉลี่ยขยายตัวขึ้นเกือบร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับรายได้เดือนธันวาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ในรอบปี 2558 โดยองค์กรวิจัยอสังหาริมทรัพย์จีนเปิดเผยว่าราคาบ้านใหม่โดยเฉลี่ยใน 100 เมืองสำคัญของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.74 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน
9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยแหล่งข่าวรายงานว่าราคายางปีนี้ยังต้องเหนื่อยกันต่อไป ถ้าหากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับนี้ และนักเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้ายังเล่นกันอยู่แบบนี้ อาจต้องรอดูความชัดเจนภายใน 1 - 2 วันนี้ และต้องให้เวลาประเทศผู้ใช้ยางโดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นประเทศใหญ่ ว่าจะวางแผนบริหารการใช้ การผลิต การซื้อในช่วงต่อไปอย่างไร อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเนื่องจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มไม่ค่อยดีในปี 2559
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยางในภาพรวม หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้จะขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ประกอบกับสต๊อคยาง ณ ตลาดเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 249,307 ตัน (วันที่ 1 มกราคม 2559) จากเดิมที่ 240,189 ตัน (วันที่ 25 ธันวาคม 2558) บ่งชี้ว่าอุปสงค์ยางจีนยังคงซบเซา ขณะที่ราคาน้ำมันยังมีความผันผวนในทิศทางที่ปรับตัวลดลง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา