My Community
บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ มกราคม 05, 2016, 11:52:20 AM
-
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และหมอกหนาในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2. การใช้ยาง
- รายงานฉบับใหม่จากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม ระบุว่า ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2558 มีรถยนต์จำหน่ายไป 215,520 คัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 250,000 คัน ในสิ้นปีนี้ ทำให้เวียดนามกลายเป็นตลาดรถยนต์ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ด้วยยอดจำนวนที่ก้าวกระโดด ร้อยละ 60.0
3. เศรษฐกิจโลก
- มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทสำรองข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ภาคการผลิตของสหรัฐฯ มีการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี ในเดือนธันวาคม โดยมาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 51.2 ในเดือนธันวาคม ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 51.3 และต่ำกว่าระดับ 52.8 ในเดือนพฤศจิกายน
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) พบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตลดลงสู่ระดับร้อยละ 48.2 ในเดือนธันวาคม จากระดับ 48.6 ในเดือนพฤศจิกายน และจากระดับร้อยละ 50.1 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 2
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทรงตัวในเดือนธันวาคม 2558 เมื่อเทียบรายเดือน และขยับตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าร้อยละ 0.4 ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
- ผลสำรวจมาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซ้อ (PMI) ภาคการผลิตของอังกฤษปรับตัวลงสู่ระดับ 51.9 ในเดือนธันวาคม 2015 จากระดับ 52.5 ในเดือนพฤศจิกายน
- ผลสำรวจประชาชนกรีซ ชาวกรีซคาดว่าเศรษฐกิจประเทศจะย่ำแย่ลงในปี 2559 นี้ แม้ว่ากรีซจะแสดงมุมมองเชิงบวกในการอวยพรปีใหม่ ว่ากรีซจะพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ โดยผลการสำรวจ ระบุว่าร้อยละ 5.5 ของผู้ตอบรับการสำรวจมองว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศจะย่ำแย่ลงอีกในปี 2559 ขณะที่ร้อยละ 61.1 มองว่าความเสี่ยงที่กรีซจะหลุดพ้นจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) มีแนวโน้มสูงที่กลับมาใหม่ในปี 2559
- ผลสำรวจของมาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 51.4 จากระดับ 50.6 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557
ดัชนี PMI ภาคการผลิตของเยอรมนีในเดือนธันวาคม ขยายตัวเพิ่มขึ้นแตะ 53.2 ซึ่งสูงสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 52.9 ในเดือนพฤศจิกายน
ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 53.2 ในเดือนธันวาคม จากระดับ 52.8 ในเดือนพฤศจิกายน และขยายตัวเล็กน้อยจากรายงานเบื้องต้นที่ 53.1
ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอิตาลีในเดือนธันวาคม ปรับตัวขึ้นแตะ 55.6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2544 โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 54.9 ในเดือนพฤศจิกายน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 36.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 119.54 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.74 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดอัตราอ้างอิงมีสกุลเงินหยวนลงร้อยละ 0.15 สู่ระดับ 6.5032 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2544
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปิดตลาดที่ 36.76 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.28 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันที่สูงเกินไป ส่วนสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่าน นั้น ได้หนุนสัญญาน้ำมันดิบสูงขึ้นในช่วงแรกก่อนที่จะอ่อนแรงลงมาปิดในแดนลบ
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ตลาดลอนดอน ปิดที่ 37.22 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 140.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ 151.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 115.50 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 5.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.40 ในเดือนพฤศจิกายน 2015 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุด และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบเกือบ 1 ปีครึ่ง
- การซื้อขายในตลาดหุ้นจีนปิดตลาดเมื่อวานนี้ เวลา 13.28 น. ภายหลังจากที่ตลาดว่างลงไปร้อยละ 7.0 จนทำให้มีการใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์ ในวันทำการแรกของตลาดหุ้นจีน ในปี 2559 สาเหตุเนื่องจากกิจกรรมในภาคการผลิตของจีน เดือนธันวาคม ที่อ่อนตัวต่ำกว่าคาดการณ์ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนลงอย่างหนัก
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงประมาณ 0.50 ? 1.00 บาท ตามตลาดต่างประเทศ เพราะการซื้อขายในต่างประเทศยังคงซบเซา โดยเฉพาะจีน ความผันผวนในตลาดหุ้นส่งผลให้นักลงทุนระมัดระวังในการซื้อเพื่อรอดูสถานการณ์ที่ชัดเจน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับเงินเยนแข็งค่า นอกจากนี้ภาคการผลิตจีนที่หดตัวลงในเดือนธันวาคม ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนอาจจะฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางทำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่นตลาดหุ้น และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งรวมทั้งยางพารา
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา