My Community

บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 08, 2016, 10:50:17 AM

หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 08, 2016, 10:50:17 AM

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  8  เมษายน  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและร้อนจัดในบางพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 38 - 42 องศาเซลเซียส ขณะที่มีลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมภาคใต้ ทำให้มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์เกาหลีใต้ (KAIDA) รายงานว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกใน 3 เดือนแรกของปีนี้ จากอานิสงค์นโยบายลดภาษีการบริโภค โดยยอกจำหน่ายรถยนต์แบนด์หรูต่างชาติที่จดทะเบียนใหม่อยู่ที่ 24,094 คัน สูงกว่าปีก่อนร้อยละ 8.1 ที่ 22,280 คัน

3. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ปริมาณทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้น 1.028 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ สู่ระดับ 3.21 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ

- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงระดับการประเมินเศรษฐกิจทั้ง 8 เขต จากทั้งหมด 9 เขต ยกเว้นเขตโตโฮกุ ที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่

- องค์การค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าการขยายตัวของการค้าโลกอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ในปีนี้ โดยลดลงต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 3.9 แต่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับร้อยละ 3.6 ในปีหน้า ทะลุระดับร้อยละ 3.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ทั้งนี้การคาดการณ์ยังอยู่บนตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ร้อยละ 2.4 ในปีนี้ และร้อยละ 2.7 ในปีหน้า

- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวย้ำว่า ECB จะทำทุกสิ่งที่จำเป็น เพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อฟื้นตัวขึ้นจากระดับที่ต่ำจนเป็นอันตราย ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความพร้อมในการใช้มาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม แม้ว่า ECB เพิ่งขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559

- รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่าภาวะซบเซาของเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงกดดันให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะขาลง

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 108.95 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.57 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 ปิดตลาดที่ 37.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.49 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากอิรักเปิดเผยว่าการส่งออกน้ำมันในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับเฉลี่ย

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 ปิดที่ 39.43 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 175.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 177.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 163.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งใหม่ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ กระทรวงระบุว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 267,000 รายในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 เมษายน 2559

- สมาพันธ์สหภาพการค้าญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ธุรกิจต่าง ๆ ในญี่ปุ่นอาจประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากลูกจ้างจำนวนมากจำเป็นต้องลาออกจากงานเพื่อดูแลญาติผู้ใหญ่ เพราะญี่ปุ่นมีจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางทรงตัว เพราะยังคงมีปัจจัยหนุนจากปริมาณยางที่มีน้อย และผู้ประกอบการในประเทศมีความต้องการซื้อ คาดว่าราคายางยังมีโอกาสสูงได้อีกในระยะนี้ โดยแหล่งข่าวรายงานว่าผู้ส่งออกอาจผลักดันให้ราคาสูงขึ้นเพื่อขายออก ขณะที่ปริมาณยางในตลาดมีน้อยไม่กระทบต่อการซื้อวัตถุดิบหน้าโรงงาน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญคือ อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการภายในประเทศ ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และราคาน้ำมันที่ปิดตลาดปรับตัวลดลง รวมทั้งราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวค่อนข้างผันผวน เนื่องจากเงินเยนแข็งค่าสูงสุดในรอบ 17 เดือน


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา