My Community

บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 11, 2016, 10:57:32 AM

หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 11, 2016, 10:57:32 AM

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  11  เมษายน  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 38 ? 42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้เข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์ของเกาหลีใต้ (KAIDA) รายงานว่ายอดขายรถยนต์นำเข้าเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกใน 3 เดือนแรกของปีนี้ จากอานิสงส์นโยบายลดภาษีบริโภค โดยยอดขายรถยนต์แบรนด์หรูต่างประเทศที่จดทะเบียนใหม่ในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 24,094 คัน สูงกว่าตัวเลขปีที่แล้วร้อยละ 8.1 ที่ 22,280 คัน

3. สต๊อกยาง


- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 8 เมษายน 2559 เพิ่มขึ้น 453 ตันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 แตะระดับ 287,947 ตัน จากระดับ 287,494 ตัน ณ วันที่ 1 เมษายน 2559

- สต๊อกยางญี่ปุ่น วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีจำนวน 6,431 ตัน ลดลง 262 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4.25 จากสต๊อกเดิม 6,162 ตัน ณ วันที่ 20 มีนาคม 2559

4. เศรษฐกิจโลก


- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกรายงานเตือนว่า นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศที่นำนโยบายดังกล่าวมาใช้ เช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (EU)

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนแอลงในไตรมาสแรกปีนี้

- สำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผู้บริโภคญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ในเดือนมีนาคม เนื่องจากได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นและตลาดหุ้นมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคครัวเรือนที่มีสมาชิก ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.6 จุด จากเดือนก่อน แตะที่ 41.7 ในเดือนมีนาคม

- ธนาคารกลางฝรั่งเศสปรับเพิ่มปริมาณการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกของปีนี้สู่ระดับร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.3

- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี รายงานว่า เยอรมนีมียอดเกินดุลการค้าสูงกว่าคาดการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์  เนื่องจากยอดส่งออกปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยรายงานระบุว่ายอดเกินดุลเดือนกุมภาพันธ์ พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.98 หมื่นล้านยูโร ทั้งนี้ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในขณะที่ยอดนำเข้าปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.4

- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น ระบุว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 2.43 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลเป็นเดือนที่ 20 เดือนติดต่อกัน โดยยอดส่งออกลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.5 ในขณะที่ยอดนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 14.6

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแคนซัสซิตี้ กล่าวแสดงความเห็นว่า หากเฟดปะวิงเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนานเกินไป จะส่งผลให้ตลาดการเงินตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพและนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในที่สุด

- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยในวันนี้ว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นภาคเอกชนเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 9.2 จากเดือนก่อนหน้าสู่ระดับ 8.487 แสนล้านเยน

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.12  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 107.70 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 1.25 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 ปิดตลาดที่ 39.72 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.46 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังข้อมูลบ่งชี้ว่ากำลังการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลง

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 เพิ่มขึ้น 2.5 ตลาดลอนดอน ปิดที่ 41.94 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

7. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 181.41 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 183.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 6.8 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 143.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.50 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว


- ธนาคารกลางจีน ได้ดึงเม็ดเงินออกจากตลาดผ่านการทำข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืนอายุ 7 วัน วงเงิน 1.20 แสนล้านหยวน หรือ 1.85 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันศุกร์ ภายหลังจากที่ภาวะสภาพคล่องตัวได้คลี่คลายลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา

9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการซื้อของผู้ประกอบการ เพราะเกรงจะขาดแคลนยางหลังจากสภาพอากาศแห้งแล้งและร้อนจัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตยางไปอีก 1-2 เดือน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากปริมาณอุปทานยางที่มีน้อยและความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ รวมทั้งนักลงทุนขานรับประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวย้ำถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา