My Community

บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 19, 2016, 11:50:50 AM

หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 19, 2016, 11:50:50 AM

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  19  เมษายน  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนจัดโดยทั่วไป มีลักษณะฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง และมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- ตามข้อมูลของ IRSG ระบุว่า ในบรรดาประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ อินเดียมีการผลิตยางธรรมชาติลดลงในปี 2558 โดยมีปริมาณการผลิต 575,000 ตัน ลดลงจากปี 2557 ที่มีปริมาณ 705,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 18.4

3. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางได้อัดฉีดเม็ดเงิน 1.625 แสนล้านหยวน (2.5 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) เข้าสู่ตลาดในการดำเนินงานทางตลาดเงิน ผ่านทางโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) เพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์โดยการให้ธนาคารเหล่านี้สามารถกู้ยืมจาก PBOC ได้โดยใช้หลักทรัพย์ต่าง ๆ เป็นหลักประกัน

- องค์การการค้าโลกคาดการณ์ว่า ปริมาณสินค้านำเข้า - ส่งออกทั่วโลกในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับการขยายตัวในปี 2558 ซึ่งเป็นการเติบโตในระดับต่ำเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน และเป็นช่วงเวลาของการชะลอตัวติดต่อกันยาวนานที่สุด นับตั้งแต่ปี 2523

- กรมศุลกากรจีนเปิดเผยว่า ยอดการส่งออกเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าที่ผลสำรวจคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากลดลงมา 8 เดือนติดต่อกัน อย่างไรก็ดี ยอดการนำเข้าเดือนมีนาคมยังคงลดลงเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน แต่ลดลงในอัตราที่น้อยลง โดยลดลงร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยในรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนเมษายน ขณะที่อัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำและอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น

- ซิตี้ กรุ๊ป ประกาศปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับปี 2559 - 2560 ระบุว่าความเสี่ยงได้ปรากฏอย่างเด่นชัด โดยสหรัฐฯ จะมีการขยายตัวร้อยละ 0.9 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 1.7 ในปีนี้ และยังคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ จะลดลงสู่ร้อยละ 4.7 ในช่วงสิ้นปีนี้ และร้อยละ 4.5 ในช่วงปีหน้า  และอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะน่าพึงพอใจ แต่เฟดยังคงใช้ความระมัดระวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเผชิญความเสี่ยง

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 34.99 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 109.01 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.96 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 39.78 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังที่ประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) และประเทศนอกกลุ่มไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นการตรึงกำลังการผลิต หลังสิ้นสุดการประชุมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดที่ 42.91 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.19 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียยังคงเปิดโอกาสสำหรับการตรึงกำลังการผลิตน้ำมัน แต่เขาไม่มั่นใจว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันชาติอื่น ๆ จะเห็นพ้องกับเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะในขณะที่อิหร่านกำลังพยายามเพิ่มการผลิตน้ำมันให้เท่ากับระดับก่อนที่จะถูกคว่ำบาตร

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 187.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 192.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.7 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 170.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- มอร์แกน สแตนเลย์ รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกที่สูงเกินคาด โดยระบุว่ามีกำไร 1.06 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐน หรือ 55 เซนต์สหรัฐต่อหุ้น สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะมีกำไร 46 เซนต์สหรัฐต่อหุ้น

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ตลาดที่อยู่อาศัยของจีนยังคงฟื้นตัวในเดือนมีนาคม โดยผลการสำรวจระบุว่าราคาบ้านใหม่ในเมืองใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายเดือน

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากปริมาณผลผลิตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ขณะที่ผู้ประกอบการเร่งซื้อเพื่อส่งมอบก่อนที่ปริมาณยางจะลดลงอีก เนื่องจากฤดูเปิดกรีดอาจจะล่าช้าไปอีกประมาณ 1 เดือน จากความแห้งแล้งที่ยาวนาน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยนและอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับมีการคาดการณ์ว่าสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัดจะทำให้ฤดูการเปิดกรีดล่าช้าออกไป ผู้ประกอบการจึงเร่งซื้อ นอกจากนี้ราคายางยังมีแรงหนุนจากรายงานผลประกอบการที่สดใสของบริษัทเอกชนสหรัฐฯ และธนาคารกลางจีนอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา