My Community
บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 25, 2016, 10:58:43 AM
-
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฝนฟ้าคะนองและลมกรรโชกแรงในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- สำนักงานศุลกากรเกาหลี รายงานว่า การส่งออกรถยนต์เกาหลีใต้ปรับตัวลงในไตรมาสแรกปีนี้ เนื่องจากความต้องการรถยนต์จากประเทศผู้ส่งออกน้ำมันชะลอตัวลง ทั้งที่การส่งออกในระหว่างเดือนมกราคม ? มีนาคม มีจำนวน 653,000 คัน ลดลงร้อยละ 9.6 จากเมื่อหนึ่งปีก่อน
3. สต๊อกยาง
- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 22 เมษายน 2559 มีจำนวน 293,090 ตัน เพิ่มขึ้น 2,202 ตันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 จากสต๊อกยางเดิม 290,888 ตัน ณ วันที่ 15 เมษายน 2559
- สต๊อกยางญี่ปุ่น วันที่ 10 เมษายน 2559 เพิ่มขึ้น 60 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 แตะที่ระดับ 6,491 ตัน จากจำนวน 6,431 ตัน ณ วันที่ 30 มีนาคม 2559
4. เศรษฐกิจโลก
- ผลสำรวจของมาร์กิต อิโคโนมิคส์ ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนเมษายน ของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 50.8 ลดลงจากระดับ 51.5 ในเดือนมีนาคม และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2552
- ผลสำรวจของมาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการของเยอรมนีปรับตัวลดลง แตะ 53.8 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จาก 54.0 ในเดือนมีนาคม
- ผลสำรวจของมาร์กิต อิโคโนมิคส์ เผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของฝรั่งเศสปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.5 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน จากระดับ 50.0 ในเดือนมีนาคม
- ผลสำรวจของมาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนปรับตัวลงสู่ระดับ 53.0 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จากระดับ 53.1 ในเดือนมีนาคม
- ผลการสำรวจล่าสุดของ บริษัทมาร์เก็ตนิวส์ อินเตอร์เนชั่นแนล พบว่าภาคธุรกิจจีน
มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณถึงการมีเสถียรภาพ โดยระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจอยู่ที่ 50.5 ในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นจากระดับ 49.9 ในเดือนมีนาคม
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.17 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.12 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 111.16 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 1.79 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 ปิดตลาดที่ 43.73 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ว่าภาวะอุปทานน้ำมันในสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวลดลง และสำนักงานงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) ระบุว่า การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 เพิ่มขึ้น 0.58 ตลาดลอนดอน ปิดที่ 45.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- เบเกอร์ ฮิวส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า จำนวนแท่นเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐฯ ลดลง 8 แท่นในสัปดาห์นี้ โดยลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกันสู่ระดับ 382 แท่น ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
7. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 181.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 197.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 179.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว
- กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคมของจีน เปิดเผยว่า อัตราว่างงานในเขตเมืองของจีนในเดือนมีนาคม อยู่ที่ร้อยละ 4.04 ลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.05
9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้อีก เพราะเริ่มขาดแคลนยาง โดยเฉพาะราคาน้ำยางสดสูงมาก ทำให้ยางแผ่นยิ่งลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำยางที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วก็เริ่มมีการเปิดกรีดรอบใหม่แม้ว่าจะมีฝนตกเพียงเล็กน้อยก็ตาม
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกมาจากราคาน้ำมันปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น และเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อยและความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ ขณะที่ปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดโตเกียวผันผวนในทิศทางปรับตัวลดลง และนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายเพื่อรอดูแถลงการณ์ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 26-27 เมษายน นี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา