My Community

บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 27, 2016, 11:53:13 AM

หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 27, 2016, 11:53:13 AM

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  27  เมษายน  พ.ศ. 2559


ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนและร้อนจัดในหลายพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 40-43 องศาเซลเซียส และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับลมกรรโชกแรง ลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป และฮอนด้า มอเตอร์ คอร์ป บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีการผลิตดังนี้

    โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 อยู่ที่ 322,181 คัน ฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ลดลงร้อยละ 18.8 ในเดือนกุมภาพันธ์
    ฮอนด้า มอเตอร์ คอร์ป เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 อยู่ที่ 79,810 คัน เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
    นิสสัน มอร์เตอร์ ลดลงร้อยละ 5.0 อยู่ที่ 73,235 คัน

3. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนต้า เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์ GDP NOW แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปีนี้ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับร้อยละ 0.3 เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา

- ธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ซึ่งเป็นตัวเลขการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 3 ไตรมาส

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจ้อยกว่าคาดในเดือนมีนาคม โดยปรับตัวขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 3.1 ในเดือนกุมภาพันธ์

- ผลสำรวจของสถานีโทรทัศน์ CNBC บ่งชี้ว่านักลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะส่งสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมสัปดาห์นี้มากกว่าการประชุมเมื่อเดือนมีนาคม และคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.13 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 111.19 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.13 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 44.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าลง และรายงานของเบเกอร์ ฮิวจ์ ที่ระบุว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 45.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 195.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 203.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.4 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 181.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- ผลสำรวจของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และเคส ซิลเลอร์ ระบุว่า ราคาบ้านในสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ โดยดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 5.5

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากปริมาณยางที่มีน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ ประกอบกับราคาตลาดต่างประเทศขานรับการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว และนักลงทุนขานรับราคาน้ำมันปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของธนาคารกลางจีน ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย รวมทั้งความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา