My Community

ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 10, 2017, 08:21:35 PM

หัวข้อ: ยางเหลือง ภาคตะวันออก ลองอ่านดูบางครั้งเราอาจจะยังไม่รู้
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 10, 2017, 08:21:35 PM
ยางเหลือง ภาคตะวันออก ลองอ่านดูบางครั้งเราอาจจะยังไม่รู้

วันจันทร์, เมษายน 10, 2560 (http://www.yangpalm.com/2017/04/blog-post_9.html) ที่มา yangpalm.com
(https://4.bp.blogspot.com/-9Wrl3JhZDn4/WOsK5WLxtHI/AAAAAAAAYiQ/YHQ4KE5EsukkwXkME_0cpHi4kGUjC4GYQCLcB/s1600/%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%2581%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%259A.jpg)

ในอดีตเกษตรกรชาวสวนยางภาคตะวันออกนิยมผลิต ?ยางแผ่นผึ่งแห้ง? หรือที่เรียก ?ยาง ADS? ( Air Dried Sheet) เพื่อส่งต่อยังโรงงานผลิตภัณฑ์ทำยางรัดของ พื้นรองเท้า รองเท้าแตะ จุกนมยาง ยางยืด ยางขัดสีข้าว อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์ยางที่ผสมสีได้ตามความต้องการเพื่อจำหน่ายในประเทศ

ยาง ADS เป็นยางที่ทำแบบเดียวกับ ?ยางแผ่นรมควัน? เพียงแต่ผ่านการอบด้วยลมร้อนเพื่อทำให้ยางแห้ง ได้ยางแผ่นบาง มีสีเหลืองสวย ใส ชาวบ้านมักเรียก ?ยางแก้ว?

แต่ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ตลาดมีความต้องการน้อยลง จนปัจจุบันเกษตรกรหันมาผลิต ?ยางแผ่นดิบ?หรือ ?ยางเหลือง? เพื่อส่งต่อยังโรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน และยังคงผลิตยางให้มีสีเหลืองเช่นเดียวกับยาง ADS (รูปที่ 1)

(https://4.bp.blogspot.com/-rWk7NpmV0yI/WOsKw4ZvLII/AAAAAAAAYiI/HJZeF2TTU9MKEaiBzP3C72Z9Dv2iPsC2QCEw/s640/17834795_642818605911937_8540001905316856175_o.jpg)

รูปที่ 1  ยางแผ่นดิบหรือยางเหลืองที่ผลิตจากภาคตะวันออก
ด้วยความที่ตั้งใจหรือไม่ทราบประการใด เกษตรกรบางรายใส่สีลงในน้ำยาง (รูปที่ 2) เพื่อต้องการให้ยางแผ่นมีสีออกเหลือง จากคำบอกเล่าของเกษตรกรแจ้งมาทางทีมศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ ว่าผู้ซื้อมักชอบยางที่มีสีเหลือง ถ้าแผ่นยางที่ให้สีเหลืองมากเท่าไรก็จะได้ราคาสูงมากขึ้นเท่านั้น (รูปที่ 3)

แต่ที่แย่ไปกว่านั้นพบว่าในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี เกษตรกรจะนำยางที่ผ่านการรีดแล้วไปผึ่งแดดไว้สักระยะหนึ่งให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำยางเข้าอบในโรงอบ ลักษณะเป็นโรงปิดทึบผนังก่ออิฐ ส่วนหลังคามุงด้วยพลาสติกใสเพื่อให้แสงแดดส่องผ่านได้จนยางแห้งใช้ระยะเวลา 4-7 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดด
(https://1.bp.blogspot.com/-9D8TdSFo74Q/WOsKv1TVCOI/AAAAAAAAYiA/eA2W4FKxZ9gbQrX1-Td83od81tRhtzELQCEw/s640/17760908_642818782578586_3563350805995310733_o.jpg)

รูปที่ 2 ผสมสีลงในน้ำเตรียมทำยางแผ่น


(https://4.bp.blogspot.com/-nimigBXO3NA/WOsKsbObb3I/AAAAAAAAYh0/AmYsXEzeOCMHUjFbSC2cUorWMOoF8lJ0wCEw/s640/17758621_642819002578564_6194533926715860508_o.jpg)
รูปที่ 3 ผสมน้ำยางสดลงไปในน้ำที่ผสมสีเหลืองเพื่อต้องการผลิตยางเหลือง
แผ่นยางเมื่อแห้งแล้วเป็นสีเหลืองสวย เมื่อนำไปจำหน่ายก็จะจัดชั้นเป็นยางเหลือง 1 ยางเหลือง 2 เหลือง 3 เหลือง 4 และ เหลือง 5ตามลำดับ ขึ้นอยู่กับความสะอาด ปริมาณความชื้น ความหนา บาง และสีเหลืองใส ยางเหลือง 1 จะจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่ายางชั้นอื่นๆ

แผ่นยางที่อยู่ในโรงอบลักษณะนี้ถึงแม้จะไม่ได้สัมผัสกับแสงแดดโดยตรงแต่รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์จะทะลุผ่านแผ่นพลาสติกใสเกิดการปฏิกิริยาออกซิเดซัน ส่งผลให้ยางเสื่อมคุณภาพ (รูปที่ 5) โดยเฉพาะค่าความยืดหยุ่นหรือค่าความอ่อนตัวเริ่มแรก (Po) มีค่าต่ำกว่ายางแผ่นดิบคุณภาพดีอยู่ถึง 15 หน่วย และค่าความหนืดต่ำกว่าประมาณ 20 หน่วย


(https://2.bp.blogspot.com/-loM4S5OzBrE/WOsKsvOduMI/AAAAAAAAYiU/IpGTeTW7N_UlyMPGkklEE6wfl-oWFz1cACEw/s640/17634451_642820492578415_9011236944414585381_n.jpg)

รูปที่ 4 อบยางในโรงอบที่หลังคาทำด้วยพลาสติกใสเป็นสาเหตุให้ยางเสื่อมคุณภาพ
ยางแผ่นดิบที่มีคุณภาพดีหมายถึง ยางที่มีความยืดหยุ่นดี สะอาด มีความหนา บางไม่เกิน 3.8 มม. ขนาดแผ่นได้มาตรฐาน มีฟองอากาศขนาดเล็กได้ (รูปที่ 5)

ส่วนยางเหลืองที่ผ่านการอบในโรงอบหลังคาใสนี้พบว่าเมื่อดึงยางจะย้วยไม่สามารถหดกลับที่เดิมได้ แสดงถึงรังสีอัตราไวโอเลตหรือรังสียูวีได้ทำลายโมเลกุลยางทำให้ยางเกิดการเสื่อมสภาพ

ยางเหลืองนี้ยังคงเป็นยางแผ่นดิบมีความชื้นอยู่ไม่น้อยกว่า 3% จึงต้องนำส่งโรงงานเพื่อผลิตยางแผ่นรมควัน ความร้อนจากเตาเผายิ่งทำให้ยางแผ่นรมควันที่ผลิตมีสมบัติทางกายภาพด้อยลงไปอีก


(https://4.bp.blogspot.com/-lwmKkwrBt94/WOsKsdOuktI/AAAAAAAAYiU/RMW8aNpnKiMWQ0Zv_fKRtQt3gKxJN5dOQCEw/s640/17758213_642820765911721_780149315927036793_o.jpg)

รูปที่ 6  ยางแผ่นอบแห้งที่มีคุณภาพดี เมื่อดึงแล้วปล่อยจะสามารถหดกลับเข้าสู่สภาพเดิมได้ง่ายในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน ของทุกปีหลาย ๆ พื้นที่เป็นช่วงปิดกรีด เกษตรกรควรจะใช้ช่วงเวลานี้ เร่งแก้ไขโรงอบยางให้ผลิตยางที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐาน โดยมีแนวทางการแก้ไข ดังนี้

1. เปลี่ยนหลังคาที่ทำจากพลาสติกใสเป็นแผ่นสังกะสีลอนเล็กทั้งหมด ด้านนอกทาสีดำเพื่อดูดแสง
2. ติดตั้งปล่องระบายความชื้นให้มีความสูงเหนือระดับสันจั่วของหลังคาพร้อมติดตั้งกระโจมกันน้ำฝนเพื่อให้อากาศจากภายนอกพัดผ่านความชื้นที่อยู่ข้างในออกไปได้ (รูปที่ 6)
3. ผนังและหลังคาปิดสนิทไม่ให้มีอากาศหรือความชื้นจากภายนอกเข้ามาในโรงอบได้

(https://1.bp.blogspot.com/-S6IaHWv7YzM/WOsKwhLRDgI/AAAAAAAAYiU/6lr41kYcOu4z0ElOvfp8DEolJHrZCUJ2QCEw/s640/17795807_642820965911701_5052534770633061781_n.jpg)

รูปที่ 7 ติดตั้งท่อระบายความชื้นบริเวณหลังคาเพื่อไล่ความชื้นจากยางแผ่นในการทำยางแผ่นดิบให้มีคุณภาพดี จะต้องพิจารณาสมบัติทางกายภาพของยางที่สำคัญคือความยืดหยุ่น ยางเป็นวัสดุชนิดเดียวในโลกที่สามารถยืดได้ หดกลับสู่สภาพเดิมได้ มีความต้านทานต่อการฉีกขาด ทนต่อการสึกหรอและต่อการเสื่อมสภาพได้ดี ซึ่งหาวัสดุอื่นจากธรรมชาติที่มีสมบัติเทียบเท่าได้ยาก

ดังนั้นไม่ยากเลยที่จะปรับเปลี่ยนการทำยางทางภาคตะวันออกใหม่ให้เป็นยางแผ่นดิบที่มีคุณภาพดี ได้ยางที่มีความยืดหยุ่นดี ทนทานต่อการเสื่อมสภาพ ได้สมบัติที่เหมาะกับการนำยางไปผลิตเป็นยางยานพาหนะชนิดต่างๆ ยางที่ทนต่อการกดทับน้ำหนักหรือแรงต้านสูง ๆ ป้องกันการสั่นสะเทือนและแรงกระแทกได้ดี ให้ชื่อว่ายางไทยเป็นยางที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก

ตารางที่ 1 สมบัติทางกายภาพของยางเหลืองเปรียบเทียบกับยางแผ่นดิบคุณภาพดี

(https://4.bp.blogspot.com/-MwUb3EY91zk/WOsK5DakX3I/AAAAAAAAYiU/K1jB3dEM9T4-3qh2hm9qZqy44fm1wjc4wCEw/s640/17855481_642852255908572_403764634916109925_o.jpg)

เรื่อง/ภาพ : ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล