My Community

ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 11, 2017, 02:10:55 PM

หัวข้อ: "รับเบอร์ซิตี้"เนื้อหอมเอกชนเริ่มจองพื้นที่ลงทุนแล้ว-กนอ.มั่นใจสร้างรายได้เกษตรกร 450 ล./ปี
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ เมษายน 11, 2017, 02:10:55 PM
"รับเบอร์ซิตี้"เนื้อหอมเอกชนเริ่มจองพื้นที่ลงทุนแล้ว-กนอ.มั่นใจสร้างรายได้เกษตรกร 450 ล./ปี
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 9 เม.ย.เวลา 15.50 น.

  (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/01/----------------------------------------------1-6.jpg)       (http://www.matichon.co.th/news/523994)
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (รับเบอร์ ซิตี้) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภายใต้นโยบายสานพลังประชารัฐว่า คาดว่าการก่อสร้างโรงงานมาตรฐานของนิคมฯจะเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพราะขณะนี้ กนอ.อยู่ระหว่างเร่งก่อสร้างอาคารโรงงานมาตรฐาน ระยะที่ 2 จำนวน 4 ยูนิต บนพื้นที่รวม 2,500 ตารางเมตร เพื่อรองรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เข้าลงทุน ล่าสุดมีผู้ประกอบการได้จองเช่าพื้นที่และพร้อมเข้าประกอบกิจการจำนวน 4 ราย เป็นผู้ประกอบการกลุ่มยางคอมปาวด์ ผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูป หมอนยางพารา และอื่นๆ ส่วนอาคารโรงงานมาตรฐานระยะที่ 1 จำนวน 3 ยูนิต พื้นที่ประมาณ 1,500 ตารางเมตร มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอียางลงทุนแล้วจำนวน 3 ราย ดำเนินธุรกิจอยู่ในกลุ่มยางคอมปาวด์ หมอนยางพารา ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ กรวยยางจราจร

?ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอียางสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่โรงงานมาตรฐานดังกล่าว เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราขั้นกลางน้ำและปลายน้ำ แสดงให้เห็นว่าโครงการนิคมฯยางพาราช่วยส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรที่ปลูกยางเข้าสู่ภาคการผลิต เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยางไทย? นายวีรพงศ์กล่าว

นายวีรพงศ์กล่าวว่า นโยบายพลังประชารัฐของรัฐบาลที่เชื่อมโยง 3 หน่วยงาน คือ กนอ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) และสหกรณ์การยาง จ.สงขลา ได้ขับเคลื่อนและยกระดับการประกอบกิจการของกลุ่มเอสเอ็มอีและสหกรณ์ยางให้เข้ามาลงทุนในนิคมฯยางพารา นอกจากรายใหญ่ที่ลงทุนอยู่แล้ว หากมีการใช้พื้นที่เต็มจะทำให้ความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นประมาณ 9,000 ตันต่อปี มีสัดส่วนเป็นน้ำยางข้นประมาณ 60% หรือ 5,400 ตันต่อปี และยางแผ่นรมควันประมาณ 40% หรือ 3,600 ตันต่อปี สร้างรายได้แก่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางประมาณ 450 ล้านบาทต่อปี และเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราแล้วจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึง 10 เท่า หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท

นายกิตติธัช ณวาโย เกษตรกรสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดสงขลากล่าวว่า ภายหลังจากโครงการนิคมฯยางพาราเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม รวมถึงการเปิดโรงงานมาตรฐานสำเร็จรูป ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราสามารถเข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาการแปรรูปยางพารา จากเดิมขายเพียงน้ำยางพาราเท่านั้น ถือเป็นความหวังที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีคุณภาพชีวิต มีรายได้เพิ่มมากขึ้น