My Community

ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ กรกฎาคม 28, 2017, 03:58:42 PM

หัวข้อ: สยยท.โวยเก็บเงินเซสส์อัตราใหม่ 2 บาท ซ้ำเติมชาวสวนยาง ราคาตกต่ำ
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ กรกฎาคม 28, 2017, 03:58:42 PM
สยยท.โวยเก็บเงินเซสส์อัตราใหม่ 2 บาท ซ้ำเติมชาวสวนยาง ราคาตกต่ำ28 July 2017

อ้างถึง
http://www.thansettakij.com/content/186552


กยท.ประกาศเก็บเงินเซสส์ใหม่ อัตรากิโลกรัมละ 2 บาท ดีเดย์บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้ สยยท.โวยเกษตรกรต้องจ่ายเพิ่มอีก 60 สตางค์ จากเดิมเก็บ 1.40 บาท แนะควรชะลอเก็บเลียนโมเดลอินเดีย ที่ช่วยชาวสวนช่วงยางราคาตกต่ำ วอนอย่าซ้ำเติม
 
 นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางพาราและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า วันที่ 28 มิถุนายน 2560 ทาง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระ พ.ศ.2560 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 47 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 จึงมีประกาศอัตราค่าธรรมเนียมที่ผู้ส่งออกยางราชอาณาจักรชำระค่าธรรมเนียมในอัตรากิโลกรัมละ 2 บาท
 
 "ปัจจุบันเก็บเงินเซสส์ อยู่ที่กิโลกรัมละ 1.40 บาท ชาวสวนต้องจ่ายเพิ่มอีก 60 สตางค์ ผมถามว่าเวลานี้สมควรขึ้นหรือไม่ ควรจะชะลอเก็บชั่วคราวแบบอินเดีย ที่ยกเลิกเก็บเงินเซสส์ 1.40 บาท เพื่อช่วยชาวสวน หรือถ้าจะเก็บในอัตราเดียว อย่างน้อยราคายางแผ่นควรจะขึ้นไปที่ราคาต้นทุนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ไม่ต่ำกว่า 64.50 บาท ปัจจุบันราคายางแผ่นดิบ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2560 อยู่ที่ 53.19 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่น้ำยางสดที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท"




(http://www.thansettakij.com/wp-content/uploads/2017/07/attach-raot-355x503.jpg) (http://www.thansettakij.com/wp-content/uploads/2017/07/attach-raot.jpg)
นายอุทัย กล่าวว่า ในภาวะวิกฤติทางการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ควรจะหาวิธีช่วยชาวสวนยาง ไม่ใช่มัวแต่ห่วงว่ารายได้ของตัวเองจะหดหาย ใช้เวลาหรือไม่ ดังนั้นผมขอวิงวอนชะลอการเก็บยางอัตราใหม่ 2 บาทไปจนกว่าราคายางจะสูงกว่าหรือเท่ากับต้นทุนของเกษตรกร
 
 อนึ่ง "ฐานเศรษฐกิจ"ได้รวบรวบ การจัดเก็บเงินสงเคราะห์ (เซสส์) แบ่งออกเป็น 3 ยุค
 
 ยุคที่ 1 เริ่มจัดเก็บตั้งแต่ปี 2504 ในอัตรากิโลกรัมละ 0.50 บาท
 
 ยุคที 2ในปี 2546 ได้เปลี่ยนแปลงการจัดเก็บเป็นอัตราก้าวหน้าตามระดับราคายางโดยราคาส่งออกยางไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท จัดเก็บเงินสงเคราะห์ในอัตรากิโลกรัมละ 0.90 บาท ราคาส่งออกยางกิโลกรัมละ 30-35 บาท จัดเก็บเงินสงเคราะห์ในอัตรากิโลกรัมละ 1.20 บาท และราคาส่งออกยางเกินกว่า กิโลกรัมละ 35 บาท จัดเก็บเงินสงเคราห์ในอัตราเดียวกิโลกรัมละ 1.40 บาท