My Community
ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ กันยายน 13, 2017, 04:00:51 PM
-
กยท.ประชาพิจาณาร่างยุทธศาสตร์ยางไทย นัดสุดท้ายอังคารนี้ ดันไทยเบอร์ 1 ยางโลก
วันที่ 8 กันยายน 2560 - 15:59 น
(https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2017/09/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-696x463.jpg) (https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2017/09/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81.jpg)
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในฐานะคณะทำงานและเลขานุการยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี (2560-2579) เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ กยท. เตรียมจัดทำประชาพิจารณ์รอบสุดท้ายร่างยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ซึ่งถือเป็นแผนยุทธศาสตร์ยางพาราฉบับแรกของประเทศไทย ณ ห้องประชุมกันตัง กยท.สำนักงานใหญ่ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยหลังจากจัดทำประชาพิจารณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะทำงานฯ จะนำความคิดเห็นที่ได้ไปปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ยาง ให้เป็นยุทธศาสตร์ยางที่สมบูรณ์ ก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ยางพารา และคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ต่อไป ซึ่งคาดว่า แผนยุทธศาสตร์ตจะสามารถประกาศใช้ได้ภายในปลายปี 2560 นี้
ทั้งนี้ ร่างยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ได้กำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่า ?เป็นผู้นำของโลกในด้านการผลิตและการส่งออกยางธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา? เพื่อเป้าหมายสูงสุดในช่วง 20 ปี คือ การเพิ่มปริมาณผลผลิตยางเฉลี่ยของทั้งประเทศเป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ปริมาณซื้อขายยางในตลาดยาง กยท. เพิ่มขึ้นเป็น 2,000,000 ตันต่อปี เพื่อทำให้ตลาดยาง กยท. เป็นตลาดที่ทั่วโลกใช้ในการอ้างอิง เพิ่มการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐคิดเป็นสัดส่วน 10% ของการใช้ยางภายในประเทศ เพิ่มสัดส่วนการใช้ยางภายในประเทศจาก 14% เป็น 30% เพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยางพารา เป็น 800,000 ล้านบาทต่อปี เพิ่มมูลค่าเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยางพาราเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 เหรียญสหรัฐ ต่อปี
?ยุทธศาสตร์ดังกล่าวกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ไว้เป็น 4 ระยะๆ ละ 5 ปี โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราในระยะ 1-5 ปีนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบการผลิตให้มี ประสิทธิภาพ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราในระยะ 6-10 ปีจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ส่วนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราในระยะ 11-15 ปีจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรม และอุตสาหกรรม และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราในระยะ 16-20 ปีจะมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการตามระบบให้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ?
นายธีธัช กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ทั้งหมดประกอบด้วย 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 19 กลยุทธ์ย่อย โดยประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ประเด็นนั้น ประกอบด้วย 1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง มีเป้าหมายเพื่อผลักให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นและสม่ำเสมอ ยกระดับสถาบันเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ และมีขีดความสามาถในการทำให้ธุรกิจแปรรูปยาง ไม้ยาง และเป็นที่พึ่งของเกษตรกรได้ รวมทั้งช่วยให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีความพร้อมที่จะรับสืบทอดกิจการต่อจากบิดามารดา
2. การเพิ่มประสิทธิภาพ และการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตยางต่อหน่วยพื้นที่ให้สูงขึ้น ลดต้นทุนในการผลิตยางลง 3. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลงานวิจัย นวัตกรรม สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับยางพาราให้มีจำนวนมาก 4. การพัฒนาตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมปริมาณการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้น และยกระดับมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยางให้สูงขึ้น และ 5. การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน มีเป้าหมายเพื่อให้มีกฎหมาย กฎระเบียบ โครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาง
?ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2540-2560 สถานการณ์ยางพาราของไทย ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ชาวสวนยาง และผู้ส่งออก ยังเน้นขายเพียงผลิตภัณฑ์ยางขั้นพื้นฐานเท่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์ยางที่ชัดเจน ผมเชื่อว่า เมื่อยุทธศาสตร์ยางเกิดขึ้นแล้ว หลังจากนี้ต่อไปจนถึง 20 ปี ทิศทางยาง และสถานการณ์ราคาจะมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งต่อไป ประเทศจะไม่ใช่เพียงผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่จะเน้นไปสู่สินค้ายางที่มีมูลค่าสูงมากยิ่งขึ้น ทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น