My Community

ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ กันยายน 04, 2018, 08:32:28 AM

หัวข้อ: กยท.ตรังประชุมสถาบันรับซื้อน้ำยางกู้สถานการณ์ราคายางดิ่งเหว กิโลกรัมละ 37 บาท
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ กันยายน 04, 2018, 08:32:28 AM
กยท.ตรังประชุมสถาบันรับซื้อน้ำยางกู้สถานการณ์ราคายางดิ่งเหว กิโลกรัมละ 37 บาท


 วันที่ 31 สิงหาคม 2561 - 11:08 น. ที่มา มติชนออนไลน์



(https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2018/08/S1050024-728x410.jpg) (https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2018/08/S1050024.jpg)

วันที่ 31 สิงหาคม 2561 ที่การยาางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง อ.เมือง จ.ตรัง มีการประชุมตัวแทนสถาบันยางที่รับซ์้อน้ำยางสดจากสมาชิกมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันหรือยางแผ่นรมควันอัดก้อนที่มีเกือบ 40 แห่ง ในจังหวัดตรัง เพื่อมารับทราบแนวทางการกอบกู้สถานการณ์ราคายางที่กำลังตกต่ำในขณะนี้ โดยผลักดันให้สถานบันยางผนึกกำลังกันตั้งศูนย์รวบรวมนำยางสด หรือบ่อน้ำยางสดภายในจังหวัดด้วยตัวเอง โดยใช้เครือข่ายตลาดกลางยางพาราสงขลา สร้างพลังต่อรองกับบริษัทส่งออกยาง


เนื่องจากที่ผ่านมาชาวสวนยางหรือสถาบันยางไม่มีอำนาจต่อรองกับบริษัทผู้ส่งออกยาง รอความช่วยเหลือแก้ปัญหาเฉพาะจากรัฐบาลเท่านั้น แต่หากตั้งศูนย์รวบรวมน้ำยางสดได้ สามารถมีอำนาจต่อรองด้านราคาจะขายให้เฉพาะบริษัทที่เสนอให้ราคาสูงกว่าเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาราคายางตกต่ำที่ขณะนี้น้ำยางสดเหลือประมาณกิโลกรัมละ 37-39 บาท ส่วนราคายางแผ่นรมควันเหลือประมาณกก.ละ 42-43 บาท ทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อน ส่วนสหกรณ์ทุกแห่งก็ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก สาเหตุเพราะราคาน้ำยางสดกับราคายางแผ่นรมควันแตกต่างกันแค่ประมาณ กก.ละ 2-3 บาทเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการแปรรูปอยู่ที่ กก.ละ 6 บาท ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือภาวะตลาดโลก แต่เกิดจากปัญหาภายในการบริหารงานที่ล้มเหลวของหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กยท. โดยการปล่อยให้บริษัทส่งออกยางพารายักษ์ใหญ่จับมือกันกำหนดราคาและกดดันราคายางมาโดยตลอด


นายสมยศ น้ำแก้ว ผู้อำนวขการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า จังหวัดตรังมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 1.4 ล้านไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1.2 ล้านไร่ ผลิตยางออกสู่ตลาดประมาณวันละ 3 ล้านกิโลกรัมยางแห้ง โดยจังหวัดตรังมีสถานบันเกษตรกรที่รบซื้อน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันกระจายทั้ง 10 อำเภอ แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาคือ ราคาน้ำยางสดกับราคายางแผ่นรมควันห่างกันเพียงแค่ กก.ละ 2 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่กก.ละ 6 บาทเศษ ทำให้สถาบันหรือสหกรณ์เกือบทั้งหดมประสบปัญหาขาดทุนหนัก แต่แท้จริงแล้ว ความต้องการน้ำยางสดมีมากและพบว่าขณะนี้บางบริษัทมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆที่ต้องใช้น้ำยางข้นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยางล้อรถยนต์ จึงมองว่าสถาบันหรือสหกรณ์สามารถจะทำธุรกิจรวบรวมน้ำยางสด เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาให้สหกรณ์อยู่ได้ ซึ่งแผนต่อไปอาจมีการก่อสร้างโรงงานน้ำยางข้นขึ้นเอง


"ราคายาง(พารา)ดอทคอท" มีบัญชี LINE@ แล้ว!
โปรดเพิ่มเพื่อนจากลิงก์ด้านล่างเพื่อรับข่าวสารที่เป็นประโยชน์
https://line.me/R/ti/p/%40rakayang.com (https://line.me/R/ti/p/%40rakayang.com)


(https://scontent.furt1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/38036920_2040139902671747_930753540853334016_n.jpg?_nc_cat=0&_nc_eui2=AeHaUXQ1pkf28rZzQs5RWaeSJHSosWhonE6Q4jhZvebbaO6SBbi4kr40txDZ49bfN4Wm2EEoNNRHeXDUeHkarz3N4uWS1yzmO46eNmBFZ5XfnA&oh=4b18f498345db8a5a13119f86685aedc&oe=5BF2C525)