My Community

ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2019, 08:41:59 AM

หัวข้อ: วงล้อเศรษฐกิจ : คาดราคายาง"ทรงตัว"
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2019, 08:41:59 AM
วงล้อเศรษฐกิจ : คาดราคายาง"ทรงตัว"

วันที่ 31 มกราคม 2562 - 11:19 น  ที่มาข่าวสด


(https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2019/01/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-696x392.jpg) (https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2019/01/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7.jpg)

คาดราคายาง?ทรงตัว? คาดราคายาง?ทรงตัว? : แนวโน้มราคายางพาราเฉลี่ยปี 2562 ประเมินว่าราคายางพาราดิบรมควัน ชั้น 3 มีทิศทาง ?ทรงตัว? โดยระดับราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 40 บาท/ก.ก. โดยให้น้ำหนักปัจจัยที่ช่วยพยุงในปีนี้ คือ 1.ปริมาณสต๊อกยางพาราชิงเต่าของจีนลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1.1 แสนตันในเดือน ธ.ค. 2561 (ลดลง -52.5%yoy) ซึ่งเกิดจากภาวะดีมานด์ผลิตยางล้อที่ลดลงของจีน ตามเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวและข้อกังวลสงครามการค้าที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการจีนนำเข้ายางไปเก็บเป็นสต๊อกลดลง
2.ราคาน้ำดิบเบรนท์เฉลี่ยคาดมีทิศทางทรงตัวอยู่ในกรอบ 65-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ยางสังเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน และเป็นสินค้าทดแทนยางพารา การที่ราคายางสังเคราะห์มีทิศทางทรงตัวตามราคาน้ำมัน จะทำให้ราคายางพาราทรงตัวด้วยเช่นกัน มองว่าทั้งสองปัจจัยนี้ จะช่วยพยุงราคายางพาราให้ ?ทรงตัว? ได้ในปีนี้
แม้ว่าทิศทางยางพาราในปี 2562 จะทรงตัว แต่ก็มีปัจจัยกดดันราคาให้ผันผวนและอาจลดลงได้อีก จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ดีมานด์ยางล้อจีนอาจจะชะลอตัวลงจากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ลดลง แม้ว่าสมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีน (CAAM) จะประมาณการว่ายอดขายในปี 2562 จะเท่ากับปีที่แล้วที่ 28.0 ล้านคัน จากปีก่อนหน้าที่หดตัว -3.1%yoy แต่ภาพรวมเศรษฐกิจจีนที่ยังเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงทั้งการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวและสงครามการค้า อาจทำให้ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศลดลงได้
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยผลผลิตยางพาราส่วนเกินของโลก โดยสถาบันวิจัยยางระหว่างประเทศ (IRSG) คาดว่าในปี 2562 การบริโภคยางพาราจะเพิ่มขึ้น 2.5% ไปอยู่ที่ 14.2 ล้านตัน ในขณะที่สมาคมประเทศผู้ผลิตยางพารา (ANRPC) คาดว่าผลผลิตยางพาราจะขยายตัว 5.8% ไปอยู่ที่ 14.7 ล้านตัน ดังนั้นหากการบริโภคของโลกเพิ่มขึ้นต่ำกว่าผลผลิต จึงเป็น ตัวชี้สำคัญที่ทำให้ราคายางพาราลดลงได้
 
 
  มองว่าแม้น้ำหนักทิศทางราคายางพาราจะทรงตัวในปีนี้ แต่ยังมีความเสี่ยงกดดันราคาให้ลดลงได้อีก จึงแนะผู้ประกอบการปรับตัวเพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับผลิตภัณฑ์ยางให้เป็นสินค้าขั้นปลายมากขึ้น ในขณะที่ภาครัฐต้องเร่งสนับสนุนให้เกิดการใช้ยางพาราภายในประเทศมากขึ้น