My Community
ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ กรกฎาคม 06, 2019, 10:04:59 AM
-
"โรคระบาดพืช"มหันตภัยป่วนซ้ำเติมทุกข์เกษตรกร
05 Jul 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
สินค้าเกษตรวิกฤติหนัก บาทแข็งพ่นพิษ ทุบราคาในประเทศดิ่ง ซ้ำร้ายยังเผชิญโรคระบาดมรสุมหนัก ก.เกษตรฯ สั่งจับตาพืชเศรษฐกิจ ยางพารา ข้าวโพด อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง มะพร้าว กาแฟ ปาล์มน้ำมัน โจทย์ใหม่ท้าทายรัฐบาล บานปลายกระทบเศรษฐกิจในประเทศ
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562319806_1.png)
ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ศัตรูพืชระบาด ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 โดยแบ่งออกเป็นชนิด
ุู(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320137_5.jpg)
1. "ข้าว" ศัตรูพืชระบาด "หนอนกระทู้สีดำ" ซึ่งมีพื้นที่ระบาด 3 จังหวัด (สุรินทร์ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ) จำนวน 12,371 ไร่ การระบาดลดลง 653 ไร่
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562319895_5.jpg)
2. "มันสำปะหลัง" เผชิญมรสุม 7 โรค รุมสกรัม ได้แก่ โรคเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง พื้นที่ระบาด 7 จังหวัด (ลพบุรี ระยอง ชลบุรีสระแก้ว จันทบุรี ลำพูน และนครราชสีมา) จำนวน 695 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 113 ไร่ โรค?ไรแดง? พื้นที่ระบาด 6 จังหวัด (กาญจนบุรี จันทบุรีสระแก้ว ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา) จำนวน 11,366 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 772 ไร่ ?โรคเพลี้ยหอย?พื้นที่ระบาด 4 จังหวัด (นครราชสีมา จันทบุรี สระแก้ว และชลบุรี) จำนวน 407 ไร่
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562319975_5.jpg)
?โรค แมลงนูนหลวง?พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 145 ไร่ ?โรคโคนเน่าหัวเน่า?พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (จันทบุรี) จำนวน 9 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 2 ไร่ ?โรคพุ่มแจ้? พื้นที่ระบาด 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี และ สระแก้ว) จำนวน 519 ไร่ และ ?โรคใบด่างมันสำปะหลัง? พื้นที่ระบาด 6 จังหวัด (สระแก้ว นครราชสีมา สุรินทร์ ปราจีนบุรี ศรีสะเกษ ชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา) จำนวน 17,321.75 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 7,338.25 ไร่
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320079_4.jpg)
3.อ้อย มีศัตรูพืช ระบาดหนัก ได้แก่ 1. หนอนกออ้อย พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (กาญจนบุรี) จำนวน 133 ไร่การระบาดเพิ่มขึ้น 83 ไร่ 2. ด้วงหนวดยาวพื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 60 ไร่ 3. แมลงนูนหลวง พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 160 ไร่ 4. จักจั่น พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (สุพรรณบุรี) จำนวน 1,453 ไร่ 5. หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดพื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 70 ไร่ และ6. โรคใบขาว พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 22 ไร่
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320162_2.jpg)
4.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบการระบาดศัตรูพืช 1. 1. หนอนเจาะลำต้นหรือหนอน เจาะฝักพื้นที่ระบาด 2 จังหวัด (ราชบุรีและพะเยา) จำนวน 46,578ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 46,553 ไร่ 2. หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดพบการระบาดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 446,065ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 154,709 ไร่
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320219_4.jpg)
ด้าน นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เผยว่า ?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? ในประเทศไทยสำรวจพบพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดระบาดเกินกว่า 60% พื้นที่ 40 กว่าจังหวัดแล้ว อาทิ นครราชสีมา กาญจนบุรี พิษณุโลก เชียงใหม่ พิจิตร น่าน ลำพูน ฯลฯ ความเสียหายจำนวนไร่มีการตรวจสอบข้อมูลกันอยู่เนื่องจาก ?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? สามารถบินได้ไกลเฉลี่ย 100 กิโลเมตรและหากมีลม พายุ จะไปได้ไกลและเร็วตามแรงลม พายุ และด้วย
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320274_5.jpg)
?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? มีอายุตั้งแต่ 30 - 45 วัน มีวัยในการเจริญพันธุ์อยู่ประมาณ 5 ช่วงวัย เข้าทำลายตั้งแต่รากถึงยอดแตกต่างตามช่วงวัย ช่วงวัยที่ 3 จะทำลายและระบาดรุนแรงสุดด้วยวัยนี้จะเข้าไปอยู่ในซอกใบแล้วกัดกินทะลุยอด ช่วงที่อ่อนแอและควรทำลายเป็นช่วงระยะไข่ เนื่องจาก ?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? ทำลายข้าวโพดในแต่ละช่วงวัยไม่เหมือนกันความเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยสิ้นเชิงจึงไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติควบคุมโรคไม่ได้
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320418_4.jpg)
ดังนั้นจึงขอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการงานวิจัยที่จะพัฒนาต่อยอดเอามาป้องกัน เช่น พันธุ์ข้าวโพดต้านทานที่ไม่ใช่ GMO , สารฟีโรโมนล่อตัวเต็มวัยซึ่งทำลายต้นเหตุโดยในประเทศไทยยังไม่มีการทดลองและสั่งนำเข้ามาใช้ , องค์ความรู้ที่ต้องเร่งสร้างให้กับเกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์/สารเคมีที่มีประสิทธิภาพควรใช้ระยะไหนช่วงเวลาใดด้วยสารเคมีหลายชนิดที่ใช้ในประเทศไทยฉีดเกิน 3 ครั้งหนอนจะดื้อยา , การใช้วิธีผสมผสานกำจัดและทำลายควรทำเป็นระบบและเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องช่วยกันทุกภาคส่วน
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320494_3.jpg)
?ข้าวโพดเป็นอาหารที่ ?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? ชื่นชอบที่สุด หากไม่ปลูกข้าวโพดใช่ว่าจะหยุดวงจรมันได้ เพราะมันยังหาพืชชนิดอื่นกินได้อีกกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว ข้าวฟ่าง กะหล่ำ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชตระกูลแตง ตระกูลถั่ว ฯลฯ หากควบคุมไม่อยู่จนมันเป็นศัตรูพืชประจำถิ่นหายนะจะเกิดทุกวงการไม่ว่าข้าว พืชสวน พืชไร่ ? นายเติมศักดิ์ กล่าว
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320541_1.jpg)
?มะพร้าว? มีการระบาด 1.?โรคหนอนหัวดำ? พื้นที่ระบาด 25 จังหวัด จำนวน 5,227 ไร่ 2.โรคแมลงดำหนาม พื้นที่ระบาด 27 จังหวัด จำนวน 40,942 ไร่ 3. ด้วงแรด พื้นที่ระบาด 20 จังหวัด จำนวน 10,159 ไร่
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320601_2.jpg)
?ปาล์มน้ำมัน? ศัตรูระบาด 1. หนอนหัวดำ พื้นที่ระบาด 2 จังหวัด จำนวน 17 ไร่ 2. หนอนปลอกเล็ก พื้นที่ระบาด 2 จังหวัด จำนวน 57 ไร่ 3. หนอนหน้าแมว พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา) จำนวน 20 ไร่ 4. ด้วงแรด พื้นที่ระบาด 4 จังหวัด จำนวน 842 ไร่ 5. ด้วงกุหลาบ พื้นที่ระบาด 4 จังหวัด จำนวน 77 ไร่ 6. หนู พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี) จำนวน 140 ไร่ 7. โรคลำต้นเน่า พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (กระบี่) จำนวน 45 ไร่
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320614_1.jpg)
นอกจากนี้ยังมี ?ยางพารา? เผชิญโรครากขาว พื้นที่ระบาด 5 จังหวัด จำนวน 1,119 ไร่ ?ทุเรียน? มีโรงหนอนเจาะลำต้น และโรคหนอนเจาะผล และที่หนักสุด โรครากเน่าโคนเน่า ระบาดหนักกว่า 1 หมื่นไร่ 2 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรีและตราด
ไร่กาแฟอะราบิกากำลังเผชิญ "มอด" ระบาดหนัก
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320717_3.jpg)
นายจำรอง ดาวเรือง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกกาแฟกาแฟอะราบิกาในจังหวัดเชียงรายซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศ โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 37,000 กว่าไร่และกำลังประสบปัญหาการระบาดของมอด เข้าเจาะทำลายเมล็ดกาแฟอย่างหนักครอบคลุมในหลายพื้นที่ ซึ่งมอดเจาะผลกาแฟเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กที่มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดย 1 ปี ขยายพันธุ์ได้ 8-9 รุ่น เพศเมียวางไข่ได้ครั้งละ 20-80 ฟอง สามารถเข้าทำลายเมล็ดกาแฟได้ตั้งแต่ในระยะผลอ่อน
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320757_1.jpg)
ความเสียหายรุนแรงจะเกิดกับเนื้อเยื่อภายในผลในระยะผลกำลังสุก ทำให้เมล็ดเป็นรูพรุน โรคพืชต่างๆ เข้าทำลายซ้ำ เมล็ดเสียคุณภาพ และทำให้ผลร่วงหล่นก่อนกำหนด ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของกาแฟลดลงอย่างมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรอย่างมาก ได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาการป้องกันและกำจัดมอดเจาะผลกาแฟต่อไป ปัจจุบันกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทำรายได้ให้เกษตรกรปีละประมาณ 5,500 ล้านบาท
"สวนพริก" ให้ระวังโรคกุ้งแห้ง
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562320808_5.jpg)
กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพริกเตรียมรับมือการระบาดของโรคกุ้งแห้ง สามารถพบได้ในระยะที่ต้นพริกเจริญเติบโตทางลำต้นจนถึงในระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต มักพบแสดงอาการบนผลพริกที่เริ่มสุกหรือก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี เริ่มแรกจะพบจุดหรือแผลช้ำยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาแผลขยายใหญ่สีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นจุดสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน กรณีที่สภาพอากาศชื้น จะเห็นเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้ผลเน่าและร่วงก่อนเก็บเกี่ยว หากพบอาการที่ผลอ่อน จะทำให้ผลพริกโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง หากพบเริ่มระบาด ให้เก็บผลพริกที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก และควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรของเชื้อสาเหตุโรค
(http://media.thansettakij.com/images/2019/07/05/1562321322_3.jpg)
ด้านนายสุรจิตต์ อินทรชิต รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ภายหลังเป็นประธานในที่การประชุมทางไกลออนไลน์ (web conference) เรื่องการชี้แจงแนวทางการควบคุม กำจัด ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดในพืชและสัตว์ เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่่ผ่านมา เพื่อติดตามสถานการณ์โรค และจะหาวิธีป้องกันอย่างไร เนื่องจากโรคระบาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นต้องมีการบูรณาการหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้กฎหมายต่างๆ เป็นการทำงานเชิงรุก ไม่ได้นิ่งนอนใจ
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะกระทบรายได้เกษตรกรโดยตรง ซ้ำเติมราคาตกต่ำ ต้องวัดฝีมือกันว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาสำเร็จหรือไม่