My Community
ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ สิงหาคม 27, 2019, 04:17:50 PM
-
"เฉลิมชัย" เข็นแพ็คเก็จยักษ์อัดสินเชื่อกว่าแสนล้านดึงราคายาง
26 Aug 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
ยังไม่จบ "เฉลิมชัย" นัดใหม่ 27 ส.ค. สั่งกยท.รวบข้อเสนอ "ผู้ประกอบการ-เกษตรกร" ใหม่ ด้านวงในเผย กยท.ปัดฝุ่นโครงการใหม่ เก่า 7 โปรเจกต์ยักษ์ ดันราคายาง กว่าแสนล้าน ด้านผู้ประกอบการเมินสินเชื่อ ยันไม่ได้ขาดสภาพคล่อง แต่ติดปัญหาโลกสงครามการค้าพ่นพิษ ค่าเงินบาทแข็ง ราคายางสูงกว่าคู่แข่ง แนะต้องเพิ่มใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น เครือข่ายฯ ดันสุดลิ่มจ่ายชดเชยชาวสวนไร้เอกสารสิทธิ์ยางแผ่น กิโลฯละ 60 บาท ร่วมวงด้วย
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" หลังเป็นประธานการประชุม เรื่อง การแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ครั้งที่ 3/2562 เพื่อติดตามการแก้ปัญหายางพาราที่มีผลกระทบต่อราคาและเกษตรกรชาวสวนยาง และให้ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางและบริษัทเอกชนยางพารา เข้าร่วมรับฟังนโยบายการประชุม กล่าวว่า รับฟังทุกฝ่ายได้เสนอแนวคิดมาหลากหลาย จึงได้สั่งการให้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไปรวบรวมนำข้อเสนอแนะทั้ง 3 ภาคส่วนที่มาให้ข้อมูล ก็ได้แก่ กยท. ผู้ประกอบการ และเกษตรกร มารวมกันแล้วมานำเสนอใหม่ในวันที่ 27 ส.ค.62(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566821635_3.jpg)
ด้านนายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหาร รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงมาตรการในการบริหารจัดการยางพารามีทั้งมาตรการเก่าและใหม่ผสมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ก็คือการดูดซับยางออกจากระบบเพื่อช่วยดันราคายางให้เสถียรภาพ
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566821677_2.jpg)
สอดคล้องกับแหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กยท. เสนอ 7 มาตรการเพื่อที่จะดูดซับยางออกจากระบบ 11% ของผลผลิตยางแห้ง 3.5 แสนตัน และราคายางเป้าหมาย 60 บาท/กก. (ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นราคาประกาศของตลาดกลางยางพาราของ กยท.) เพื่อผลักดันราคายางให้สูงกว่าต้นทุนและรักษาเสถียรภาพราคายางไม่ให้เกิดความผันผวน โดยจะดำเนินการใช้งบประมาณรวมสินเชื่อ และจ่ายชดเชยรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง รวมกว่า 1 แสนล้านประกอบด้วย
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566838133_4.jpg)
1. โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงินกู้ 2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีสต็อกยางเพิ่มขึ้นมากกว่าสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปีนับจากวันที่ยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการ โดยรัฐบาลจะสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 ที่จ่ายจริงไม่เกิน 600 ล้านบาท) 2.โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต วงเงินกู้ จำนวน 25,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาท จากโครงการเก่า) คาดว่าจะทำให้ปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มขึ้น 1 แสนตัน/ปี
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566821854_2.png)
3. โครงการลดภาษีให้ผู้ประกอบการ คาดว่าจะเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ โดยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จำนวน 5 หมื่นตัน เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ วิธีการดำเนินการ คือ กยท.กับกรมสรรพากร กำหนดแนวทางมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ประกอบการยางพาราทีมีการเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติจากปีก่อน (อ้างอิงตามรายงานการใช้ยางของแต่ละบริษัท) โดยค่าใช้จ่ายในการซื้อยางเป็นวัตถุดิบ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ จำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการซื้อยางพารา เพื่อใช้เป็นปัจจัยในการผลิต
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566821886_4.jpg)
4.โครงการเกษตรผสมผสาน งบประมาณ กยท. จำนวน 1.6 หมื่นล้านบาท (รัฐบาลจ่ายเพิ่มอีก 1 หมื่นล้านบาท) รวมเป็น 2.6 หมื่นล้านบาท วิธีการดำเนินงาน กยท.สนับสนุนปลูกแทนไร่ละ 1.6 หมื่นบาท รัฐบาลสนับสนุนเพิ่มเติม 1 หมื่นบาท เพื่อดำเนินกิจกรรม เช่น ปรับลดพื้นที่ให้เหมาะสม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง เป็นต้น
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566833791_4.jpg)
5. โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพารา วงเงินสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสามารถรวบรวมยางจากเกษตรกรได้ไม่น้อยกว่า 7 แสนตัน/ปี (ผลการดำเนินงานครั้งที่แล้วเบิกเงินกู้จริง 374 แห่ง เป็นเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ปริมาณยาง 343,931 ตัน) ดำเนินการต่อโดยขอขยายระยะเวลาโครงการต่อ 4 ปีสิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2567
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566833834_5.jpg)
6. ตั้งตลาดยางล่วงหน้า "ไทยคอม" ซึ่งจะมีการเปิดประมูลขายยางในตลาดออนไลน์ และ 7.มาตฐานการรับรองการจัดการป่ายั่งยืนในระดับสากล FSC และ PEFC เป้าหมาย 4 แสนไร่ งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท เป็นต้น
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566834224_3.jpg)
นอกจากนี้ยังมีการชดเชยรายได้ชาวสวนยางราคายางแผ่นดิบคุณภาพดี กิโลกรัมละ 60 บาท ประกันรายได้ราคาน้ำยางสด (DRC 100) ราคา 57 บาท/กิโลกรัม และประกันรายได้ราคายางก้อนถ้วย (DRC 100%) 50 บาท/กิโลกรัม จำนวนที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. จำนวน 1.1 ล้านราย (ผู้ที่มีเอกสารสิทธิ์) กับพื้นที่เป้าหมายกว่า 13 ล้านไร่ ต้องใช้เงิน 3.3 หมื่นล้านบาท สมมติฐานราคายางชดเชยให้เกษตรกรที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม แล้วถ้าราคายางต่ำลงกว่านี้ รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม แต่ถ้าราคายางปรับราคาเพิ่มขึ้นพ้น 60 บาทต่อกิโลกรัมรัฐบาลก็ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566835488_5.jpg)
ด้านนายพงศ์นเรศ วนสุวรรณกุล เลขาธิการสมาคมน้ำยางข้นไทย เผยว่า ผลจากสงครามการค้าสหรัฐฯกับจีน ส่งผลกระทบทำให้ตลาดที่ส่งออกไปจีนตลาดหายไปเลย ผู้ประกอบการไม่ได้ขาดสภาพคล่อง ขาดตลาดมากกว่า ขณะที่ปีนี้ผลผลิตไม่มากนัก เกษตรกรยังได้รับผลกระทบขนาดนี้ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาก็คือเพิ่มการใช้ในประเทศให้มากขึ้น ควบคู่มาตรการลดต้นทุนให้เกษตรกร
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566835580_5.jpg)
ด้านนายธีระชัย แสนแก้ว ประธานเครือข่ายเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกยางจะได้ชดเชยรายได้ยางแผ่นกิโลกรัมละ 60 บาท เพราะเป็นอีกกลุ่มที่เสียเงินเซสส์กิโลกรัมละ 2 บาทควรที่จะได้ประโยชน์ด้วย เป็นงบจากรัฐบาลจะได้ไม่แยกประชาชนเป็นสองมาตรฐานหวั่นจะเข้าใจรัฐบาลผิด ไม่ใช่เป็นเรื่องจูงใจให้บุกรุกป่า นั่นเป็นคนละเรื่องกัน ในส่วนนั้นก็ต้องไปป้องกัน แต่นี่คนกลุ่มนี้ปลูกมา 40-50 ปีแล้ว ส่วนในบัตรกลุ่มสีชมพู เป็น กลุ่ม ภ.ท.บ.5 ที่ก่อนหน้านี้ก็เคยได้รับสิทธิประโยชน์ใครปลูกยางได้หมด โดยใช้กฎหมายที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นนโยบายรัฐบาลควรที่จะได้ทุกคน เพราะตอนที่หาเสียงก็ได้รับปากไว้ว่าจะให้คนกลุ่มนี้ด้วย ดังนั้นควรจะได้เสมอภาคกันทั้งบัตรสีเขียวและสีชมพู
(https://media.thansettakij.com/images/2019/08/26/1566836493_2.jpg)