My Community
ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ ตุลาคม 24, 2019, 09:05:11 AM
-
ชาวสวนไข้ขึ้นหวั่นซ้ำรอยบริษัทร่วมทุนยางเจ๊ง
23 Oct 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
ชาวสวนเสียงแตก หนุน-ค้าน บิ๊ก "กยท." จัดตั้งบริษัทลูกร่วมกับสถาบันเกษตรกร ผวาซ้ำรอย ร่วมทุน 5 บริษัทค้ายางยังเจ๊ง ปิดบัญชีไม่ลงตัว ?อุทัย? ดันสุดลิ่มนโยบาย เดินมาถูกทางแล้ว ชี้ควรจะทำตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งคิดที่จะทำ พร้อมหนุนเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชแซม แนะต้องช่วยหาตลาดให้
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/23/1571823483_5.jpg)
จากกรณีที่ นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ด้านบริหาร รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยเตรียมจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกับสถาบันเกษตรกร ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำ TOR เพื่อการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา และจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรม(บอร์ด)การการยางแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/23/1571823545_2.png)
หลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแล้ว จะเร่งจดทะเบียนบริษัทให้เร็วที่สุด ในส่วนของการจัดตั้งโรงงานจะเป็นขั้นตอนต่อไปที่จะเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาโรงงานผลิตยางของ กยท. ที่มีอยู่ทั้ง 6 แห่ง ให้มีศักยภาพในการดำเนินงานเพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/23/1571823567_1.jpeg)
ด้านนายเพิก เลิศวังพง อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า บริษัทที่จัดตั้งใครเป็นผู้บริหาร ในส่วนตัวอยากจะให้เคลียร์เรื่องเก่าให้จบก่อนดีหรือไม่ อาทิ บริษัทร่วมทุนยางกับ 5 ผู้ประกอบการยางพารารายใหญ่ ซึ่งยังมีปัญหาปิดบัญชีไม่ได้ แล้วจะมาเปิดบริษัทใหม่จะซ้ำรอยเดิมหรือไม่ ดังนั้นแนะนำควรจะสะสางปัญหาเก่าให้จบก่อน
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/23/1571823601_1.jpg)
ขณะที่นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เห็นด้วย ควรจะทำมาตั้งนานแล้ว เพราะ กยท.จะต้องช่วยตัวเอง เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่จะตั้งบริษัทมหาชน โดยใช้เงินจากค่าธรมเนียมส่งออกยาง(เซสส์)เป็นทุน เพื่อให้องค์กรและพนักงานอยู่รอด รวมกับเจ้าของสวนด้วยที่จะทำให้เกิดความมั่นคง เรียกว่าช่วยกันไปมา
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/23/1571823619_1.jpg)
?ผมขอเสนอในสถาบันเกษตรกร ให้รวบรวมยางตรวจสอบคุณภาพ แล้วบรรจุภัณฑ์ขาย สร้างแบรนด์ในนามของ กยท. ขายไปทั่วโลก ส่วนตลาดในประเทศ กยท.ควรจะเป็นตัวกลาง ให้ช่วยขายวัตถุดิบให้กับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทีต้องการใช้ยาง ก็ใช้ยางจากสถาบันเกษตรกรส่งมอบ หรือให้ ผลิตโดยตรง ใช้ส่วนต่างนี้เป็นกำไร เพราะเกษตรกรไม่เข้าใจเรื่องการค้าขาย ตรงหนี้ต้องเป็นหน้าที่ของ กยท. แล้วสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง?
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/23/1571823707_1.jpg)นายอุทัย กล่าวว่า ผลจากราคายางตกต่ำ ต้องเปลี่ยนแนวรบและวิธีคิดใหม่ จะไปสู้ตลาดล่วงหน้าไม่ได้ จะต้องเดินตามแผนยุทธศาสตร์แผน 20 ปีของรัฐบาล เสริมกับหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ปลูกพืชแซมยาง หรือพืชชนิดอะไรก็แล้วแต่ ต้องช่วยหาตลาดให้ด้วย
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/23/1571824039_4.jpg)
อนึ่ง บริษัทร่วมทุนยาง จำกัด เกิดจากนโยบาย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ปัจจุบันเป็นสภาชิกวุฒิสภา) ได้สั่งการให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดตั้ง บริษัท ร่วมทุนยางพารา จำกัด ร่วมกับ 5 บริษัทผู้ค้ายางพาราใหญ่ ได้แก่ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (บมจ.), บริษัท เซาท์แลนด์รับเบอร์ จำกัด (บมจ.), บมจ.ไทยฮั้วยางพารา, บจก.วงศ์บัณฑิต และบมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น ทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท แต่มีการบริหารงานที่ล้มเหลว ประสบปัญหาขาดทุน และปัจจุบันยังปิดบัญชีไม่ได้
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/23/1571824072_5.jpg)