My Community
ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ ตุลาคม 26, 2019, 10:26:36 AM
-
น้ำยางก้อนถ้วยเฮ! ชดเชยประกันรายได้เพิ่ม
25 Oct 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
(https://scontent.furt1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/75521679_2777146202304443_5360464517958467584_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_oc=AQkUATgQ82M8JD8UH87Pzo5I2v8mFL8CLP7XMj4gAbO96j1HLnj1D9BVk4jEqgrSxbA&_nc_ht=scontent.furt1-1.fna&oh=103502e777b78aa3a82b4114215c7523&oe=5E1DC1F5)
ปลัดเกษตรฯ ทุบโต๊ะเอาใจเกษตรกร ยางก้อนถ้วยเฮ! ลั่นห้องประชุม ?เหนือ-อีสาน -ใต้? ยิ้มแก้มปริ ?สวัสดิ์? ผู้แทนเกษตรกร ขอบคุณรัฐฟังเสียงเพิ่มปริมาณชดเชยเป็น 40 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ชดเชยส่วนต่าง 6.81 บาท/กิโลกรัม รับได้ ไม่มีปัญหา
จบเป็นที่เรียบร้อยสำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะที่ 1 ปี 2562-2563 ที่จะจ่ายในวันที่ 1-15 พฤศจิกายนนี้ สำหรับราคาชดเชยประกันรายได้ใช้การคำนวณราคา 60 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้ยางพารา 3 ชนิดที่รัฐจะชดเชยรายได้ ได้แก่ ยางแผ่นดิบ ราคายางที่รัฐบาลชดเชย 21.03 บาท/กิโลกรัม รัฐประกันราคา 60 บาท/กิโลกรัม ส่วนน้ำยางสด จะต้องชดเชยอยู่ที่ 19.28 บาท/กิโลกรัม ราคาประกันที่ 57 บาท/กิโลกรัม และน้ำยางก้อนถ้วย ชดเชยอยู่ที่ 6.81 บาท/กิโลกรัม ขณะที่ราคาประกัน DRC 50% อยู่ที่ 23 บาท
(https://scontent.furt1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/75204630_2777146558971074_3022422345085091840_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_oc=AQmDkPz-wIPBIOyWk-Qr5FongvJEAeKR7cAhGX8jfG4WmxRouat2TSDFzz--xiuk58k&_nc_ht=scontent.furt1-1.fna&oh=4f9939885eb46633a3278f9489300950&oe=5E1FC780)
วันที่ 25 ตุลาคม 2562 นายสวัสดิ์ ลาดปาละ รองประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.ระดับประเทศและประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดลำปาง เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะที่ 1 โดยมีนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในที่ประชุมนั้น ได้ข้อสรุปดังนี้
การประกันราคายางก้อนถ้วย ราคาประกัน DRC 50% ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) ชดเชยอยู่ที่ 6.81 บาทต่อกิโลกรัม ยังคงเดิม แต่ได้ชดเชยเพิ่มจาก 20 กก.เป็น 40 กก.คือได้ปริมาณเพิ่ม แต่ราคาชดเชยเท่าเดิม ก็ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ฟังเสียงเกษตรกร ยอมรับตอนแรกอาจจะคิดคำนวณตกเลขไปมาก จึงทำให้เกิดความไม่พอใจทั้งประเทศ แต่เมื่อเคาะอย่างนี้เชื่อทุกฝ่ายพอใจ ส่วนยาง 2 ชนิด ยังกำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ที่ปริมาณผลผลิตยาง (ยางแห้ง) 240 กก.ต่อไร่ต่อปี หรือ 20 กก.ต่อไร่ต่อเดือนคงเดิม
(https://scontent.furt1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/73390771_2777146565637740_550107760688103424_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_oc=AQkoVdVpkSU9nt7HtuSaVVeDjgLLfX8y6S39r-6pBtFq4g7HICbiy2N7AzODizQM1o8&_nc_ht=scontent.furt1-1.fna&oh=02881b52f40ad0dcb2742cdf0b21d859&oe=5E6584ED)
"ยอมรับว่าในส่วนของบัตรสีชมพู(เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์)อาจจะจ่ายล่าช้า เพราะไม่มีการแจ้งข้อมูลเลย ดังนั้นเจ้าหน้า กยท.ประจำจังหวัดและกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านจะต้องทำงานหนักในการรับรองว่ามีจริงหรือไม่ พื้นที่อยู่ตรงไหน จับสัญญาดาวเทียมจิสด้า ตรวจสอบ แต่ไม่เป็นไร ยอม"
อนึ่ง กยท.รายงานข้อมูลผู้ที่ขึ้นทะเบียน และแจ้งข้อมูลพื้นที่ ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2562 ซึ่งในเบื้องต้นมีเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 1,711,252 ราย (เจ้าของสวน ผู้เช่า ผู้ทำ 1,412,017 ราย และคนกรีดยาง 299,235 ราย) คิดเป็นพื้นที่ 17,201,391 ไร่ โดยเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่
กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ที่ปริมาณผลผลิตยาง (ยางแห้ง) 240 กก.ต่อไร่ต่อปี หรือ 20 กก.ต่อไร่ต่อเดือน กำหนดระยะเวลาประกันรายได้ 6 เดือน (ตุลาคม 2562 ? มีนาคม 2563) ซึ่งเงินประกันรายได้ในแต่ละเดือน จะถูกแบ่งระหว่างเกษตรกรเจ้าของสวนยางและคนกรีดยางในสัดส่วน 60:40 วงเงินรวมกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท