My Community

ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ ตุลาคม 10, 2019, 12:14:22 PM

หัวข้อ: รัฐเปิดแผน3ปี ใช้ยางล้านตัน แก้เกมราคาวูบ
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ ตุลาคม 10, 2019, 12:14:22 PM
รัฐเปิดแผน3ปี ใช้ยางล้านตัน แก้เกมราคาวูบ


 (https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/08/1570508649.jpg)เปิดแผนโครงการส่งเสริมการใช้ยางหน่วยงานภาครัฐปี 2563-2565 ตั้งเป้า 1 ล้านตัน หวังดันราคายาง เพิ่มรายได้ชาวสวน ขณะ 2 ปียุค คสช.เพิ่มใช้ยางในประเทศได้ 1.5 แสนตัน ?บิ๊ก กยท.? เอกซเรย์แนวโน้มราคายางปี 2563 ยังผันผวน ปัจจัยเสี่ยงอื้อ

 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและอุปทานยางของประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นตั้งแต่ปี 2558 จนกระทั่งในปี 2561-2562 รัฐบาลได้มีนโยบายดำเนินมาตรการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานรัฐ คิดเป็นปริมาณนํ้ายางสดกว่า 1.5 แสนตัน ล่าสุดรัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่อเนื่องเพื่อยกระดับราคาให้มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานได้มีการประชุมหารือเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562
แหล่งข่าวจาก กนย. เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของหน่วยงานภาครัฐเพิ่มเติมอีก 3 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562-กันยายน 2565 ปริมาณรวม 1 ล้านตัน ซึ่งหน่วยงานที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ กระทรวงมหาดไทย 3.65 แสนตัน ผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะใช้ ได้แก่ ถนน สนามเด็กเล่น ลานอเนกประสงค์ รองลงมากระทรวงกลาโหม 3.4 แสนตัน คาดจะนำไปใช้ทำถนน ลานอเนกประสงค์ และสระ และลำดับที่ 3 กระทรวงคมนาคม 1.32 แสนตัน คาดจะนำไปใช้ทำถนน งานอำนวยความปลอดภัยงานทาง เป็นต้น (กราฟิกประกอบ)
(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/08/1570508447_5.jpg)
ด้านนายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยว่า ปริมาณการผลิตยางโลกมีการขยายตัวโดยปี 2562 มี 14.073 ล้านตัน จากปีก่อนหน้าที่ 12.149 ล้านตัน ปัจจุบันสต๊อกโลกลดลง แต่ยังไม่สามารถดันราคายางโลกให้ขยับขึ้นได้จากผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน กระทบเศรษฐกิจโลก และส่งผลให้การผลิตยางล้อรถยนต์ซึ่งใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมากสุดลดลง

(https://medias.thansettakij.com/images/2019/10/08/1570508487_3.jpg)

ปัจจุบันราคายางพาราในประเทศมีการปรับตัวในทิศทางเดียวกับราคาซื้อขายยางในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ เนื่องจากโครงสร้างตลาดยางพาราโลกเป็นแบบผู้ซื้อน้อยราย ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคหลักมีเพียงไม่กี่รายซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของโลกที่มีการตั้งฐานการผลิตในประเทศจีนและสหรัฐฯ ขณะที่ผู้ผลิตและส่งออกยางมีจำนวนมากทั้งรายใหญ่และรายย่อยในประเทศผู้ผลิตยาง ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งยางพาราไทยเป็นสินค้าที่ต้องพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลักสัดส่วน 86% ของผลผลิตซึ่งอยู่ในรูปวัตถุดิบขั้นต้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยใช้ราคายางในตลาดซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศเป็นราคาอ้างอิงในการซื้อขายยางในตลาดส่งมอบจริง
 
 
 
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อราคาในปี 2563 ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ ด้านความต้องการใช้ยาง ราคายางสงเคราะห์ที่เคลื่อนไหวตามราคานํ้ามันดิบ ดัชนีภาคการผลิตโลกที่มีแนวโน้มลดลง สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ส่วนปริมาณการผลิตยางที่มีปัจจัยเสี่ยงกดดันราคายาง อาทิ ปริมาณสต๊อกยางโลก การเพิ่มขึ้นของพื้นที่กรีด และสภาพอากาศที่คาดว่าปริมาณฝนลดลง
 
 
 
 
ดังนั้นทางออกประเทศไทยควรเร่งดำเนินการใช้มาตรการเพื่อรองรับจากปัญหาที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะเร่งด่วนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลิตและการประกอบอาชีพเสริมเพื่อลดต้นทุนการผลิตชดเชยรายได้เกษตรกร 3 ชนิดยาง (ยางแผ่น 60 บาท/กก. นํ้ายางสด (DRC 100%) ราคา 57 บาท/กก. และนํ้ายางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาท/กก.) งวดแรกจะเร่งจ่ายในวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2562 นี้ งวด 2 วันที่ 1-15 มกราคม 2563 และงวดที่ 3 วันที่ 1-15 มีนาคม 2563)
ระยะที่ 2 ระยะกลาง เร่งรัดการใช้ยางในประเทศ เป้าหมาย 1 ล้านตัน และ 3. ระยะยาว สนับสนุนการวิจัยเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศ การขยายตลาด และการแจ้งเตือนพยากรณ์สภาพอากาศรายชั่วโมงเพื่อลดการสูญเสียในการกรีดยาง

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,512 วันที่ 10-12 ตุลาคม 2562