My Community

ข่าวที่มีผลต่อราคายาง => ข่าวยางโดยตรง => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ พฤศจิกายน 06, 2019, 08:58:50 AM

หัวข้อ: "โรคใบร่วง"มหันตภัยตัวใหม่ของยางพาราลามหนักมากในพื้นที่ปลูกยางในจังหวัดนราธิวาส
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ พฤศจิกายน 06, 2019, 08:58:50 AM
"โรคใบร่วง"มหันตภัยตัวใหม่ของยางพารา

โดย?อุทัย  สอนหลักทรัพย์
(https://i0.wp.com/kasettumkin.com/wp-content/uploads/x250.jpg?resize=840%2C473&ssl=1)
            เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้รับหนังสือจากเลขาธิการสมาคมชาวสวนยางของอินโดนีเซีย บอกว่า ขณะนี้ทางเกาะสุมตราของประเทศอินโดนีเซียกำลังประสบปัญหากับการระบาดของ ?โรคใบร่วง? ในยางพารา ทำให้นึกถึงประเทศบราซิลเมื่อหลายสิบปี ที่ยางพาราในประเทศบราซิล เกิดโรคระบาดในลักษณะใกล้เคียง คือถ้าระบาดหนักต้นยางพารายืนต้นตายทั้งประเทศ ถึงขนาดบราซิลต้องเปลี่ยนสายพันธุ์ใหม่
           โรคใบร่วงในยางพารา เกิดจากเชื้อ fusicocum ยังไม่เคยพบในไทยและอินโดมาก่อน อาจเกิดจาก climate change  ลักษณะทำให้ใบร่วง ปัญหาสำคัญคือ ระบาดทุกพันธุ์ ทำให้เชื้อรุนแรงขึ้น ไทยเองก็ต้องเฝ้าระวังครับ
(https://i1.wp.com/kasettumkin.com/wp-content/uploads/x251.jpg?resize=774%2C1376&ssl=1)
             เท่าที่ทราบมา เป็นโรคที่มีรายงานว่า พบครั้งแรกในประเทศมาเลเซียนานแล้ว แต่ระบาดรุนแรงเหมือนโรคใบจุดทั่วๆไป แต่ที่พบระบาดรุนแรง จนใบร่วงในประเทศอินโดนีเซีย อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมปลี่ยนแปลง ถ้ากลุ่มประเทศสมาชิกของIRRDB (อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย) พบการระบาดรุนแรงของโรคนี้เพิ่มขึ้น ก็น่ากังวล เพราะอาจจะระบาดรุนแรงเหมือนโรคก้างปลาที่พบระบาดรุนแรงในปีพ.ศ.2528

            ตอนนี้บ้านเรายังไม่มีรายงาน แต่บางครั้งอาจเป็นไปได้ ถ้าสำรวจดูตามแปลงยางในบ้านเราก็อาจพบโรคนี้แล้วก็ได้ ตราบใดที่ปริมาณเชื้อยังน้อย ยังไม่เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงและพันธุ์ยางยังไม่เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคfusicocom ถึงกับทำให้ใบร่วงหรือถึงระดับยืนต้นตาย
[adrotate banner=?3"]
            ผมใด้รวบรวมเรื่องโรคใบล่วง 2 ครั้งแล้ว ว่าโรคนี้ระบาดในอินโดนีเซียตั้งแต่ วันนี้ 29 เมษายน 2561ผมในฐานะตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง มีความประสงค์ที่จะให้กรมวิชาการเกษตรที่มีหน้าทีโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องโรคพืช และการยางแห่งประเทศ (กยท.) ที่ต้องรับผิดชอบสวนยาง ช่วยออกมาประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบบ้าง ว่าโรคนี้มีความรุนแรงขนาดไหน
            ที่สำคัญถ้าเราช่วยกันประโคมข่าวตลาดล่วงหน้าจะสั่นสะเทือนไม่เบา เพราะโรคนี้ถ้าระบาดแล้วกว่าจะฟื้นมาได้ใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน ตลาดล่วงหน้า จะได้ไม่กล้ากดราคายางพาราจากเกษตรกรครับ!

การยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยาง เฝ้าระวังโรคใบร่วงหรือไฟทอฟธอราในช่วงหน้าฝน ย้ำเกษตรกรต้องดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ป้องกันการระบาดจากต้นสู่ต้น
         ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝน ถือเป็นช่วงที่เชื้อรา
ไฟทอฟธอรา (Phytophthora) หรืออีกชื่อคือโรคใบร่วง มักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะกับสวนยางพารา ซึ่งเชื้อราไฟทอฟธอราจะเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยางได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลงถ้าเชื้อราไฟทอฟธอราระบาด ทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมใบจะร่วงถึง 75% ส่งผลให้ผลผลิตลดลง 30-50%

          ด้านลักษณะอาการเกษตรกรสามารถสังเกตุอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อ มักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลายที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เนื่องจากเชื้อสร้างเนื้อเยื่อ abscission layer เมื่อนำมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่าย บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบ หรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำ ขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง ทั้งนี้เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเติบโตของเชื้อราไฟทอฟธอรา พันธุ์ยางที่ปลูกอ่อนแอ ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา
        สำหรับความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก รวมถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ อยู่ระหว่าง 25-28 องศา เชื้อนี้ต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วัน เช่นหน้าฝน หรือมีน้ำท่วมขัง และมีแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ต่อวัน
           ผู้ว่าการ กยท.
กล่าวต่อถึงวิธีการป้องกันเชื้อไฟทอฟธอราว่า เกษตรกรควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น RRIT 251 และ RRIT 408 ในเขตและแหล่งปลูกยางที่ระบาดของโรค ไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น RRIM600 หมั่นกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยาง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง เมื่อพบโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ เนื่องจากเป็นเชื้อเดียวกัน ต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมด ควรหยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์
ทีมข่าวประชาสัมพันธ์การยางฯ