ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1157 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  26  มิถุนายน  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ- มรสุมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่บริเวณภาคตะวันออกจะมีฝนตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ทำให้หลายพื้นที่กรีดยางได้อย่างต่อเนื่อง แม้ต้นยางยังคงให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ เพราะยังคงได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน
2. การใช้ยาง- รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ โดย ส.อ.ท. ประมาณการผลิตรถยนต์เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2557 มีจำนวน 499,127 คัน เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2557 ที่มีจำนวน 456,265 คัน เพิ่มขึ้น 42,862 คัน
3. เศรษฐกิจโลก- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ปี 2557 หดตัวลงร้อยละ 2.9 ถือว่าปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2552 หรือในรอบ 5 ปี มากกว่าประมาณการก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าจะหดตัวลงเพียงร้อยละ 1.0 เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ ทำให้ผู้บริโภคไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอย ขณะที่สถานประกอบการหลายแห่งต้องปิดกิจการ
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.0 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือนเมษายน นับว่าลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากความต้องการเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ และสินค้าด้านกลาโหมต่างปรับตัวลดลง
- ผลสำรวจโดยบริษัท Qfk เผยให้เห็นว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมันเดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นแตะ 8.9 จุด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน และสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ 8.5 จุด
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาซานฟานซิสโก แสดงมุมมองด้านบวกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยกล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังปรับตัวกลับมาสู่ภาวะแข็งแกร่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- มาร์กิต อิโคโนมิก ผู้ให้บริการข้อมูลการเงินของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯ เดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นแตะระดับ 62.1 จุด จากระดับ 58.1 จุดในเดือนพฤษภาคม โดยเดือนมิถุนายนนับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552
- นักวิเคราะห์จาก เจ.พี.มอร์แกน เชส กล่าวว่า แม้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ปี 2557 ของสหรัฐฯ ที่หดตัวลงเกือบร้อยละ 3.0 จะดูเป็นข้อมูลที่น่าตกใจ แต่ก็เชื่อว่าเมื่อวิกฤตสภาพอากาศที่แปรปรวนผ่านพ้นไป GDP จะขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วแตะระดับร้อยละ 3.0 ในไตรมาส 2 ปี 2557
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 32.47 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.76 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.14 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 106.50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.47 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับปัจจัยบวกจากสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง และนักลงทุนมีมุมมองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่ากระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ปรับลดการประมาณการตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ปี 2557 ก็ตาม
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 20 มิถุนายน 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 800,000 บาร์เรล
6. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 207.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 219.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4  เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 214.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- การก่อสร้างในสหรัฐฯ ที่กำลังขยายตัวขึ้น ทำให้มีการคาดว่าจะส่งผลให้ราคาไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งชดเชยการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่กำลังตกต่ำอยู่ในขณะนี้
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางยังมีแนวโน้มสูงขึ้นได้อีก แม้ว่าราคาต่างประเทศจะค่อนข้างผันผวน โดยแหล่งข่าวรายงานว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาดโดยรวมของไทยในขณะนี้มีอยู่เพียงร้อยละ 50 - 60 เท่านั้น ทำให้ผู้ประกอบการบางรายซื้อเก็บไว้เพื่อเก็งกำไร เพราะคาดว่าภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิคกำลังได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโน ซึ่งจะเกิดความแห้งแล้งผิดปกติ ทำให้ผลผลิตยางลดลง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการแข็งค่าของเงินเยนและความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในอิรัก อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนิโน ซึ่งจะเกิดความแห้งแล้งในภูมิภาค อาจทำให้ผลผลิตยางลดลง และนักลงทุนยังมีมุมมองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าสหรัฐฯ จะปรับลดประมาณการตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ปี 2557 ลงสู่ระดับหดตัวร้อยละ 2.9 จากประมาณการก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 1.0 จึงเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนให้ราคายางมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]