ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 979 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  2  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ทั่วทุกภาคของประเทศยังคงมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์กระจาย   ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง และสงขลา ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้ค้ายานยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนกันยายนลดลงร้อยละ 0.8 จากปีก่อน อยู่ที่ 518,774 คัน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่   3 เนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ยังคงซบเซา หลังจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อเดือนเมษายน
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อการส่งออกรถยนต์ของไทยไปต่างประเทศในปี 2558 ค่อนข้างมาก และคาดว่าจะเป็นแรงผลักดันหลักให้กับการผลิตรถยนต์ไทยนับจากนี้ไป โดยปัจจัยบวกสำคัญที่น่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกรถยนต์ในปีนี้คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เด่นชัดมากขึ้น
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า   ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนกันยายน   มีดังนี้
 
  • ยู โรโซน ลดลงแตะ 50.3 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน   จาก 50.7 จุดในเดือนสิงหาคม แต่ดัชนีที่สูงกว่า 50 จุด บ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัวจากเดือนก่อน
  • เยอรมัน ลดลงแตะ 49.9 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน   จาก 51.4 จุดในเดือนสิงหาคม
  • ฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 48.8 จุด   ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน จาก 46.9 จุดในเดือนสิงหาคม   โดยดัชนีที่ต่ำกว่า 50 จุด แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตหดตัวจาก
     เดือนก่อน
  • อิตาลี เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.7 จุด จาก 49.8 จุด   ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวดีขึ้นในภาพรวมของภาคการผลิต
  • สเปน ขยับลงเล็กน้อยอยู่ที่ 52.6 จุด จาก 52.8 จุดในเดือนสิงหาคม แต่ยังคงสัญญาณถึงการปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งของภาวการณ์ดำเนินงานในภาค การผลิต
  • สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงแตะ 57.5 จุด จาก 57.9 จุดในเดือนสิงหาคม
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน   และสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนกันยายนอยู่ที่ 51.1 จุด ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนสิงหาคม
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น   (BOJ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำไตรมาส 3 ระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ   +13 จุด จาก +12 จุดในไตรมาส 2 บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจยังมีความเชื่อมั่น
 แม้ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีบริโภคตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มบริษัทนอกภาคการผลิตลดลงแตะ   +13 จุดในไตรมาส 3 จาก +19 จุดในไตรมาส 2 จากความกังวลว่าการปรับขึ้นภาษีบริโภคอาจทำให้การอุปโภคบริโภคและการลงทุนใน ภาคเอกชนอ่อนแอลง

- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงในเดือนกันยายน เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ภาคการผลิตขยายตัวในอัตราสูงที่สุด นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 โดยดัชนีภาคการผลิตระดับประเทศเดือนกันยายนของ ISM อ่อนแรงลงแตะ 56.6 จุด จาก 59.0 จุดในเดือนสิงหาคม และต่ำกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 58.5 จุด
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.40 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.09 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.82 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 90.73 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.43 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากซาอุดิอาระเบียได้ปรับลดราคาจำหน่ายน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันปรับลดลงเล็กน้อย เพราะได้รับแรงหนุนจากรายงานสต๊อคน้ำมันดิบที่ลดลงในสหรัฐฯ ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน   ลดลง 0.51 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 94.16 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 กันยายน 2557 ปรับตัวลดลงสวนทางกับการคาดการณ์ โดยสต๊อคน้ำมันดิบลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่   356.6 ล้านบาร์เรล เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2557   สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 900,000 บาร์เรล
- มีรายงานว่า บริษัทซาอุดิอาระเบียน ออยล์โค ได้ปรับลดราคาจำหน่ายน้ำมันดิบสำหรับลูกค้าในเอเชีย โดยได้ปรับลดราคาลงราว 0.20   - 1.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าเป็นเพราะต้องการชิงส่วนแบ่งทางการตลาด และถือเป็นสัญญาณว่าซาอุดิอาระเบียจะไม่ปรับลดการผลิตน้ำมันดิบในอนาคต
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 169.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 175.8 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 150.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 5.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- บริษัทออโตแมติค   ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนกันยายนภาคเอกชนสหรัฐฯ   จ้างงานเพิ่มขึ้น 213,000 ตำแหน่ง เนื่องจากการจ้างงานที่แข็งแกร่งในภาคการผลิต และสูงกว่าตัวเลขประเมินของนักวิเคราะห์ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ราย
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างปรับตัวลดลงในเดือนสิงหาคม เพราะได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายที่อ่อนแรงของภาคเอกชนนอกภาคครัวเรือน และการชะลอตัวของการลงทุนของรัฐบาล โดยรายงานระบุว่าค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.8 จากปีก่อนบ
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวลดลง โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจุดต่ำสุดอยู่ตรงไหน ก็ต้องอดทนต่อไป เพราะซื้อทุกวันก็ขาดทุนทุกวัน   และยังขายออกยาก ไม่มีผู้ซื้อ อย่างไรก็ตาม หลายรายที่มีเงินทุนหมุนเวียนก็มีการซื้อเก็บบ้าง เพราะขาดแคลนวัตถุดิบ
 
 
 แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับลดลงทำสถิติต่ำ สุดในรอบ 5 ปี เพราะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงและเงินเยนแข็งค่า อีกทั้งนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา หลังจากมีรายงานภาคการผลิตเดือนกันยายนของสหรัฐฯ และยูโรโซนชะลอตัว ขณะที่ภาคการผลิตจีนทรงตัวอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ประกอบกับตลาดจีนหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 1 - 7 ตุลาคม 2557 เนื่องในวันชาติ
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]