ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟเขียว 300 วิสาหกิจชุมชนใช้เงินกู้ซื้อยาง  (อ่าน 735 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83024
    • ดูรายละเอียด
ไฟเขียว 300 วิสาหกิจชุมชนใช้เงินกู้ซื้อยาง


ครม.เห็นชอบให้ 300 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใช้เงินกู้ซื้อยาง หวังเพิ่มประสิทธภาพในการดึงยางออกจากระบบ
ครม.เห็นชอบให้ 300 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใช้เงินกู้เพื่อรับซื้อและรวบรวมยางพารา จากเดิมให้เฉพาะกลุ่มสหกรณ์เกษตรกร หวังเพิ่มประสิทธภาพในการดึงยางออกจากระบบ ช่วยรักษาเสถียรภาพราคายาง พร้อมขยายโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพาราไปถึงเดือน ธ.ค.

นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมฯมีมติเห็นชอบให้ขยายมาตรการสนับสนุนสินเชื่อให้กับเกษตรผู้ปลูกยางพารา เพื่อให้มีเม็ดเงินไปหมุนเวียนในการรับซื้อและรวบรวมยางพารา ซึ่งครม.ได้เคยอนุมัติวงเงินไว้ 1 หมื่นล้านบาท แต่กำหนดให้เฉพาะกลุ่มสหกรณ์ให้ขอสินเชื่อได้

อย่างไรก็ตามที่ประชุม ครม.ได้ขยายให้ครอบคลุมไปถึงวิสาหกิจชุมชนที่มีอยู่ประมาณ 300 กลุ่ม ซึ่งมีสมาชิกที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการแปรรูป การผลิต การตลาด การรวบรวมยางพาราที่มีการรวมตัวสมาชิกตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป มีการออมเงินสม่ำเสมอและมีการทำระบบบัญชี โดยให้สามารถขอรับสินเชื่อจากธ.ก.ส.ได้

ระยะเวลาโครงการเริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน 2557 สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2558 เพื่อเพิ่มความสามารถให้แก่ระบบสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนสามารถเข้ามาทำหน้าที่รวบรวมยางพาราเพื่อดูแลศักยภาพราคายางพารามากขึ้น

นายชนะชัย เปล่งศิริวัธน์ ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) กล่าวว่า ครม.ยังได้มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพาราที่ สิ้นสุดไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค. 2556 แต่เนื่องจากโครงการนี้ยังมียางในสต็อกและยังไม่ได้ระบายออกไปจำนวน 208,076 ตัน จึงทำให้ต้องขยายเวลา เพราะมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษายางพารา จึงขอต่อขยายเวลาไปถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2557 และครม.ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อจัดเก็บรักษายางพารา 145 ล้านบาทด้วย

กระทรวงเกษตรฯกำลังเข้าเช็คยางพาราในสต็อกเพิ่มเติม หลังจากได้ตรวจเช็คเบื้องต้นปริมาณยังอยู่ครบเต็มจำนวน แต่คุณภาพจากการสุ่มตรวจผลปรากฏว่า 24% ของยางพาราทั้ง หมด 2.1 แสนตัน หรือประมาณ 5,000 ตัน เป็นยางแผ่นรมควัน ที่มีปนเปื้อนเชื้อราและเน่าเสีย แม้ว่าจะยังใช้การได้อยู่ โดยนำไปทำเป็นยางแท่ง แต่คุณภาพและราคาจะลดลง หรือราคาจะปรับลดลงมากกว่า 12% ของราคายางแผ่นดิบรมควัน

?ต้องยอมรับว่าคุณภาพของยางพาราต้องลดลงแน่นอน เพราะยางสต็อกรัฐบาลเก็บไว้นาน 2 ปีแล้ว แต่ยืนยันปริมาณยางพารายังคงอยู่ครบจำนวน การตรวจสอบครั้งนี้ไม่ได้เป็นการตรวจสอบครั้งแรก แต่เป็นการตรวจสอบ หลังจากที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบไปแล้ว แต่ผลที่จะกระทบกับสต็อกยางของรัฐบาล หลังจากตรวจพบการเน่าเสีย คือเรื่องของการถูกกดราคาขายเกิดขึ้นแน่นอน?


หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ