ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 911 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันอังคารที่  18  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ปกคลุมภาคใต้กำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มมากขึ้นและตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่าความคืบหน้าจัดตั้งอุตสาหกรรมเมืองยาง หรือรับเบอร์ซิตี้ ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาพื้นที่ที่เหลือ หรือเฟส 3 ประมาณ 755 ไร่ คาดว่าจะก่อสร้างเดือนตุลาคม 2558 จะเสร็จในปี 2560 และในอนาคต กนอ. มีแผนจะพัฒนานิคมเมืองยางที่มีอุตสาหกรรมครบวงจรทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ


3.เศรษฐกิจโลก


- สำนักข่าวโตเกียวรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นมีกำหนดประกาศเลื่อนการปรับขึ้นภาษีการบริโภคหลังจาก GDP ไตรมาส 3 ของญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 1.6 สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัวราวร้อยละ 2.5


- สำนักงานปริวรรคเงินตราแห่งรัฐของจีน เปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สุทธิที่หลั่งไหลเข้าสู่สถาบันการเงินจีนในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ อยู่ที่ระดับ 1.679 หมื่นล้านหยวน เมื่อเทียบกับ 1.2199 หมื่นล้านในไตรมาส 2


- คณะกรรมการกำกับดูแลด้านการธนาคาร เผยอัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารพาณิชย์จีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09 จากไตรมาส 2


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้าซึ่งสวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานว่าดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม เดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นแตะ 10.16 หลังจากลดลงสู่ระดับ 6.17 ในเดือนตุลาคม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตมีการฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.78 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐและเงินเยนอยู่ที่ 116.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.54 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน ธันวาคม ปิดตลาดที่ 75.64 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.18 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า GDP ของญี่ปุ่นหดตัวลงในไตรมาส 3 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับสัญญาน้ำมันเบรนท์ส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 0.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 79.31 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 190.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน  2558 อยู่ที่ 199.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.3 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 162.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคผู้ใช้บัตรธนาคาร (BCCI) ระบุว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวจีนที่ถือบัตรธนาคารปรับตัดลดลงในเดือนตุลาคม หลังเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน


- ประธานสหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น กล่าวว่า ทางสมาพันธ์ยอมรับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ที่อาจจะเลื่อนการปรับขึ้นภาษีการบริโภครอบ 2 ออกไปจากกำหนดการเดิม


- สหภาพยุโรป(EU) เปิดเผยในรายงานฉบับหนึ่งว่าแนวโน้มการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้ายังคงมีความรุนแรงทั่วโลก ซึ่งจะทำให้มีความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจโลก


8. ข้อคิดเห็นของ   
ผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับลดลง 1 ? 2 บาท ตามตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตามภาวะฝนตกหนักยังคงทำให้ราคาลดลงในกรอบจำกัด ผู้ประกอบการกล่าวว่าต้องรอดูนโยบายของภาครัฐ และความร่วมมือของ 3 ประเทศต่อไปอย่างใกล้ชิด


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เพราะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และนักลงทุนชะลอการซื้อหลังจาก GDP ของญี่ปุนในไตรมาส 3 หดตัวลงอย่างเหนือความคาดหมายที่ร้อยละ 1.6 สวนทางกับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่นักลงทุนรอดูการเจรจาของ 3 ประเทศ ผู้ผลิตยางรายใหญ่ในสัปดาห์นี้








ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา