ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ว่าประจวบเคลียปัญหาชาวสวนยางพาราแต่ยังตกลงกันไม่ได้  (อ่าน 764 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83024
    • ดูรายละเอียด
ผู้ว่าประจวบเคลียปัญหาชาวสวนยางพาราแต่ยังตกลงกันไม่ได้

 เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 19 ธ.ค.57  ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทองมงคล อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง เช่นเกษตรจังหวัด กองทุนสวนยางจังหวัด สำนักงานพัฒนาธุรกิจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมประชุมกับเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากชาวสวนยางพาราจังหวัดประจวบฯ ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดไปถึงรัฐบาลเพื่อให้เร่งแก้ปัญหายางพารามีราคาตกต่ำ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยการเรียกร้อง 1.ให้รัฐบาลรับซื้อยางแผ่นดิบราคากิโลกรัมละ 80 บาท 2.ขอให้ผ่อนปรนการใช้หลักเกณฑ์เงินอุดหนุนจากรัฐบาลไร่ละ 1,000 บาท เนื่องจากที่ดินส่วนใหญ่ในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 3.ให้เร่งแก้ปัญหาสิทธิที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้มีเอกสารสิทธิ์ เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน
 นายจำลอง ดีทองอ่อน ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกรได้รับความลำบากมาก เคยซื้อข้าวกินเป็นถัง แต่ปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนยางซื้อข้าวกินได้แค่ครั้งละ 1กิโลกรัมเพราะไม่มีเงิน จะใช้เงิน 5 บาทยังต้องคิดต้องเก็บไว้ให้ลูก ซึ่งโครงการชดเชยจากรัฐบาลที่จะให้ไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่นั้น เกษตรกร อ.บางสะพาน และ อ.บางสะพานน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์มากกว่าครึ่ง รวมกว่า 120,000 ไร่ จึงไม่อยู่ในหลังเกณฑ์ในการช่วยเหลือ และขณะนี้กำลังจะถึงทางตัน ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล
 นายวีระศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ปัญหาที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ อยู่นอกเหนือจากการแก้ปัญหาของจังหวัดซึ่งได้นำเสนอไปให้รัฐบาลเพื่อพิจารณา ซึ่งปัญหาความเดือดร้อนของชาวสวนยางไม่ใช่มีแค่จังหวัดประจวบ ฯ แต่ได้เกิดความเดือดร้อนทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้รับทราบปัญหาและกำลังแก้ไขโดยพยายามให้ยางพารามีราคาสูงกว่า กิโลกรัมละ 60 บาท ดังนั้นขอให้เกษตรกรให้เวลากับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา 
 อย่างไรก็ดีการพูดคุย กองทุนสวนยางได้สนับสนุนให้เกษตรกรลดพื้นที่การปลูกยางโดยปลูกพืชอื่นทดแทน ลดต้นทุนการผลิตด้วยการผสมปุ๋ยใช้เอง และ ธกส.ได้ให้เงินกู้เกษตรกรดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 2 ต่อปี การจับมือกันของสหกรณ์ชาวสวนยางในจังหวัด 9 สหกรณ์ เพื่อเป็นยี่ปั้วในการจำหน่ายยาง และเตรียมสนับสนุนสหกรณ์สร้างโรงงานผลิตยางคอมปาว เพื่อผลิตยางแผ่นดิบเป็นยางแผ่นรมควันอัดก้อนส่งแปรรูป อีกทั้งการจัดทำข้อมูลครัวเรือนที่มีอยู่ในเขตป่าสงวนให้เป็นปัจจุบันเพื่อออกเอกสารสิทธิ์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดรับที่จะประสานกับรัฐบาลเพื่อเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว
 
ที่มา  บ้านเมือง (20 ธันวาคม 2557)