ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 912 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88303
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพฤหัสบดีที่  2  เมษายน  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกรรโชกแรงเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีเมฆบางส่วนและมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่


2. การใช้ยาง


- รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 3.55 เป็นบวกครั้งแรกในรอบ 23 เดือน หลังจากติดลบมาอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมียอดส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 108,173 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าทั้งปีจะมียอดผลิตเพื่อการส่งออก 1.2 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37


3. เศรษฐกิจโลก


- ผลสำรวจของสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) ระบุว่า ภาคการผลิตของสหรัฐฯ มีการขยายตัวต่ำลงในเดือนมีนาคม โดยคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำลง ขณะที่การจ้างงานทรงตัว โดยดัชนีภาคการผลิตของ ISM อยู่ที่ร้อยละ 51.5 ในเดือนมีนาคม ลดลงจากร้อยละ 52.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน


- ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ ประจำเดือนมีนาคมอยู่ที่ 55.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน เพิ่มขึ้นจากระดับ 55.1 ในเดือนกุมภาพันธ์


- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนติก กล่าวว่า สหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน แม้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกจะมีความอ่อนแอ แต่คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงต่อไป


- ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) มีดังนี้


ภาคการผลิตยูโรโซนเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นแตะ 52.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน จาก 51.0 ในเดือนกุมภาพันธ์
ภาคการผลิตเยอรมันเดือนมีนาคมปรับขึ้นแตะ 52.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 จาก 51.1 ในเดือนกุมภาพันธ์
ภาคการผลิตฝรั่งเศสเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นแตะระดับ 48.8 จาก 47.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากผลผลิตและยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ลดลง
ภาคการผลิตอิตาลีเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นแตะ 53.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 จาก 51.9 ในเดือนกุมภาพันธ์
ภาคการผลิตกรีซเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นแตะระดับ 48.9 จาก 48.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ นับเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตอยู่ในภาวะหดตัว แม้ว่าความรุนแรงจะน้อยลง
ภาคการผลิตสเปนเดือนมีนาคมขยับขึ้นเล็กน้อยที่ 54.3 จาก 54.2 ในเดือนกุมภาพันธ์
4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.43 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 119.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.14 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 50.09 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.49 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดที่ 57.10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.99 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว และเป็นการเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 4.8 ล้านบาร์เรล จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 471.4 ล้านบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 207.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 206.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 171.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- ผลสำรวจออโตเมติก ดาด้า โพรเซสซิ่ง องค์ (ADP) ระบุว่าภาคเอกชนสหรัฐฯ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 189,000 รายในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 225,000 ราย


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากในระยะนี้ เพราะผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อ และอุปทานยางมีน้อย อย่างไรก็ตาม ความต้องการซื้อของผู้ประกอบการอาจส่งผลเชิงลบโดยอาจจะมีการกดราคาบ้าง เพื่อไม่ต้องการซื้อของแพง


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากภาคการผลิตยูโรโซนและจีนปรับตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคม ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนและเงินบาทแข็งค่า และความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจยังคงผันผวน


 


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา