ผู้เขียน หัวข้อ: สะท้อนท่าทีเกษตรกรยังรับได้?ยาง 60 บาท-ปาล์ม 4 บาท?  (อ่าน 923 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83024
    • ดูรายละเอียด
สะท้อนท่าทีเกษตรกรยังรับได้?ยาง 60 บาท-ปาล์ม 4 บาท?

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2558
ที่มา: คม ชัด ลึก  โดย สมชาย สามารถรายงาน



สะท้อนท่าทีเกษตรกรยังรับได้?ยาง 60 บาท-ปาล์ม 4 บาท? height=347


สถานการณ์ราคายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ กระทบต่อรายได้ของเกษตรกรในภาคใต้ที่ถือเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดในประเทศ ทั้งนี้ ตัวแทนจากเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันได้นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อกระตุ้นราคา พร้อมประเมินมาตรการของรัฐมีส่วนช่วยให้สถานการณ์ราคาดีขึ้นได้อย่างไร
     
     "บุญส่ง นับทอง" นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน สมาคมสรุปประเด็นนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 ประเด็น ในการกระตุ้นราคายางพารา
         
     ประเด็นแรกคือ การใช้ยางในประเทศ ขณะนี้รัฐบาลเริ่มวางมาตรการในการใช้ยางให้กระจายไปยังทุกกระทรวง ทบวง กรม ยกตัวอย่าง กระทรวงคมนาคม ที่รัฐบาลตั้งงบประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ให้ใช้ยางพาราในการซ่อมถนน
     
      ?ตรงนี้เราก็ทำหนังสือกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ รีบเร่งการนำยางพาราไปใช้ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป?
     
     นอกจากนี้ ยังได้ประสานกับสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย เพื่อเข้ามาช่วยอีกแรงในการนำยางพาราไปทำถนน รวมทั้งนำเสนอแนวทางในการดำเนินการของ อบจ.ทั้งประเทศ โดยเฉพาะยางในสต็อกของรัฐบาลที่เสื่อมสภาพ ให้ขายให้แก่ อบจ.ทั่วประเทศในราคาพิเศษ ซึ่งสมาคม อบจ.จะนำไปเสนอแผนงานโครงการ ว่า อบจ.ไหนจะใช้ยางพาราจำนวนเท่าไหร่ จังหวัดไหนใช้จำนวนเท่าไหร่
     
     ตรงนี้จะทำให้สต็อกยางลดลง มีผลต่อการกระตุ้นราคายางในตลาดได้อีกทาง? รวมถึงให้เร่งกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เร่งการใช้ยาง เช่น นำไปทำสนามฟุตซอล สนามฟุตบอล หรือกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนสามารถนำยางไปใช้ได้ จำนวนมาก   
 
     ประเด็นที่สอง การเข้ามาดูแลเรื่องราคายางของรัฐบาล ในส่วนของโครงการมูลภัณฑ์กันชนถ้าหากรัฐบาลจะดำเนินการต่อไปก็ไม่คัดค้าน แต่อยากให้มีโครงการที่มาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้ทั่วถึง
     
     ?เราเสนอเป็นโครงการชดเชยส่วนต่างราคา โดยเราตั้งสมมุติฐานว่าราคายางที่เกษตรกรสมควรจะได้รับในปี 2558/2559 ควรจะอยู่ที่ประมาณ 60 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 64.50 บาท/กิโลกรัม? ซึ่งหากเกษตรกรสามารถขายได้ในราคา 60 บาท/กิโลกรัม ก็ถือว่าขาดทุนเล็กน้อยไม่เป็นไร ถ้าสมมุติว่าราคาในตลาดทั่วไปอยู่ประมาณ 55 บาท/กิโลกรัม รัฐบาลก็จะต้องชดเชย 5 บาท/กิโลกรัม เพื่อให้เกษตรกรได้ราคาที่ 60 บาท/กิโลกรัม
     
     ทั้งนี้ หากรัฐบาลดำเนินการชดเชยส่วนต่างในราคาสมมุติว่า 5 บาท/กิโลกรัม และคำนวณผลผลิตยางพาราทั้งหมดในประเทศไทยที่ประมาณ 4 ล้านตัน/ปี รัฐบาลจะใช้งบประมาณในการชดเชยแค่ 20,000 ล้านบาทเท่านั้นเอง ถ้าสมมุติว่าชดเชยที่ 5 บาท/กิโลกรัม
     
     ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องเร่งมาตรการกระตุ้นราคายางในตลาด เพื่อดันราคาให้สูงขึ้นมากที่สุด เพื่อให้การจ่ายชดเชยน้อยที่สุด วิธีการเร่งก็คือ การให้รัฐบาลเจรจากับประเทศผู้ผลิตยางประมาณ 5-6 ประเทศ เพื่อกำหนดราคาขั้นต่ำของราคายาง
     
     รวมถึงการขายยางของรัฐบาลที่ไม่ทำให้ราคาต่ำจนเกินไป โดยพยายามเปิดขายไปยังประเทศอื่นที่ไม่เฉพาะกับประเทศจีนประเทศเดียว เพื่อให้สอดคล้องกับการเร่งการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งหากทำได้ก็จะทำให้อุปทานหายไป ก็จะกระตุ้นให้ราคายางดีขึ้นได้
     
     ส่วนโครงการมูลภัณฑ์กันชนจะเดินหน้าต่อหรือยุติก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล เพราะ จุดอ่อนของโครงการมูลภัณฑ์กันชนคือรัฐบาลวางนโยบายจะเข้าไปซื้อยางในตลาด ทั่วไป โดยซื้อจากทุกราย ไม่เกี่ยวว่าจะเป็นเกษตรกรหรือพ่อค้า ซึ่งเกษตรกรมีความอ่อนแอในด้านการผลิต และการเข้าถึงตลาด จะสู้พ่อค้าไม่ได้ ทำให้โครงการนี้คนที่ได้ประโยชน์คือ พ่อค้า กับสหกรณ์?
     
     ในขณะที่จุดแข็งคือสามารถดึงราคาให้ปรับเพิ่มขึ้นช่วงระยะหนึ่ง ช่วงที่เงินงบประมาณในโครงการยังไม่หมด ทำให้ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 52-53 บาท/กิโลกรัม แต่หลังจากเงินโครงการหมดราคาก็ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นแนวทางนำเสนอไปเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย
     
     ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ไม่มีเลยที่ประเทศไหนสามารถฟื้นตัวได้ อย่างจริงจัง แม้กระทั่งจีนที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุด 10 กว่าเปอร์เซ็นต์/ปี ตอนนี้ปรับลดลงต่ำกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจีนเป็นประเทศที่นำเข้ายางจากประเทศไทยมากที่สุด ทำให้กระทบต่อราคายางของไทย
     
     ?ราคาที่เราหวังไว้ที่ 60 บาท/กิโลกรัม (บวกลบ 58-62 บาท/กิโลกรัม) เป็นราคาที่ไม่เป็นภาระกับรัฐบาลจนเกินไป ขณะเดียวกันเกษตรกรก็พออยู่รอด ในขณะที่เกษตรกรก็ต้องปรับตัว เช่น การปลูกพืชอื่นเสริมรายได้ในสวนยางที่รัฐบาลให้เงินกู้ 100,000 บาท/ราย ก็เป็นส่วนหนึ่ง?
     
     "สิทธิพร จริยพงศ์" ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในฐานะเกษตกรชาวสวนปาล์ม กล่าวว่า การแก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ คือ อยากให้เอาราคาน้ำมันดิบในท้องตลาดเป็นตัวตั้งคูณด้วยจำนวนเปอร์เซ็นต์ จากนั้นหารด้วย 100 ก็จะออกมาเป็นราคาที่เหมาะสมที่สุด ขณะเดียวกันสูตรนี้เกษตกรต้องพัฒนาการปลูกปาล์มเพื่อให้เปอร์เซ็นต์น้ำมัน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับประเทศมาเลเซีย     
     
     ปัจจุบันราคาน้ำมันปาล์มดิบของประเทศมาเลเซียอยู่ที่ 19 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่เปอร์เซ็นต์น้ำมันของไทยอยู่ที่ 22 เปอร์เซ็นต์ หารด้วย 100 โรงงานต้องซื้อผลผลิตปาล์มที่ 4.19 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ของไทยเอาราคาน้ำมันดิบตั้งตอนนี้ 23 บาท/กิโลกรัม คูณด้วยเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ 17 เปอร์เซ็นต์ หารด้วย 100 ดังนั้น โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบจะต้องซื้อผลผลิตปาล์มจากเกษตรกรที่ 3.91 บาท/กิโลกรัม แต่วันนี้เราขอ 4 บาท/กิโลกรัม แต่หากเกษตรกรพัฒนาให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 17 เปอร์เซ็นต์ เป็น 18 เปอร์เซ็นต์ ก็จะขายได้ราคาเพิ่มขึ้นอีก 30 สตางค์/กิโลกรัม   
     
     อย่างไรก็ตาม หากอนาคตข้างหน้าราคาน้ำมันปาล์มดิบขยับไปที่ 25 บาท/กิโลกรัม โรงงานต้องขยับราคารับซื้อผลปาล์มจากเษตรกร ถ้าราคาลดลงโรงงานก็ปรับลดลง เรารับได้ แต่ปัจจุบันทางโรงงานใช้เปอร์เซ็นต์น้ำมันเป็นข้ออ้างในการกดราคารับซื้อผล ปาล์มจากเกษตรกร ถามว่า ราคาน้ำมันดิบตอนนี้ 23 บาท/กิโลกรัม ทำไมโรงงานรับซื้อผลปาล์มที่ 2.60 บาท/กิโลกรัม เขาอ้างว่าเปอร์เซ็นต์น้ำมันของเกตรกรแค่ 13 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวไม่เชื่อว่า เปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มของเกษตรกรจะอยู่ที่ 13 เปอร์เซ็นต์ตามที่โรงงานอ้าง เพราะแนวทางการเรียกร้องของเกษตรกรไม่ได้เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแทรก แซง ประกัน หรือชดเชย เพราะทำไปเกษตรกรไม่ได้อะไร ซึ่งตอนนี้เกษตรกร 80 เปอร์เซ็นต์ เสนอว่าให้รัฐบาลดำเนินการตามสูตรที่เสนอ โดยให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบน้ำมันทุกเดือน
     
     "สูตรนี้พ่อค้าต้องคายกำไรมาให้เกษตรกรบ้าง เอากำไรน้อยลงหน่อย เพราะการซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรเขาจะกำหนดราคาเกรดต่ำสุดมาเป็นตัวกำหนดราคา รับซื้อ โดยไม่มีมาตรฐาน พอผลผลิตปาล์มออกมามาก เขาบอกว่าเปอร์เซ็นต์ลดลงก็ซื้อในราคาต่ำ ฉะนั้นสูตรนี้ไม่ว่าปาล์มจะขาดตลาดหรือล้นตลาด  เราตกลงเรื่องคุณภาพสินค้า ราคา โดยตรวจสอบกันเดือนต่อเดือน จึงหวังว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เห็นด้วยกับแนวทางนี้
     
     ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2557 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรทำผลผลิตปาล์มทั้งหมด 13.2 ล้านตัน สกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ 2.45 ล้านตัน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 18.56 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น โรงงานจะมาอ้างเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มของเกษตรกรที่ 13 เปอร์เซ็นต์ได้อย่างไร ในเมื่อข้อมูลของราชการระบุชัดเจนว่า 18.56 เปอร์เซ็นต์ และที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนปาล์มช้ำใจกับเรื่องนี้มานานแล้ว เพราะโรงงานกำหนดราคารับซื้อตามใจโรงงาน โดยไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีคุณธรรม ผมโต้แย้งได้ทุกประเด็น?
         
     สิทธิพร แสดงความคิดเห็นต่อว่า หน้าที่ของรัฐบาลก็คือการควบคุมให้เป็นไปตามคุณธรรมของราคาตลาด โดยต้องบอกว่าถ้าเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18 เปอร์เซ็นต์ ทางโรงงานต้องปรับราคารับซื้อผลปาล์มให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 30 สตางค์ จากราคา 4 บาท/กิโลกรัม ที่เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ 17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตอนนี้บางโรงงานปรับราคาให้แล้ว แต่บางโรงยังไม่ปรับ ราคาอยู่ที่ 3.60-3.70 บาท/กิโลกรัม อ้างว่าเปอร์เซ็นต์น้ำมันปรับขึ้นมาอยู่ที่ 16 เปอร์เซ็นต์แล้ว จาก 12 เปอร์เซ็นต์ก่อนหน้านั้น โดยเกษตรกรจะขอรอดูประมาณ 15 วัน หลังจากวันที่ 1 พฤษภาคม ที่เริ่มมาตรการของรัฐบาล เนื่องจากบางแห่งยังไม่เปิดทำงาน ยังอยู่ในช่วงวันหยุด ถ้าราคาปาล์มปรับเพิ่มขึ้น 4 บาทกว่า/กิโลกรัม ถือว่าโครงการนี้เดินหน้า เพราะก่อนที่จะมีมาตรการของรัฐบาล ราคาปาล์มอยู่ 2.60 บาท/กิโลกรัมเท่านั้น
     
     ส่วนการเรียกร้องของเกษตรกรชาวสวนปาล์มบางกลุ่มในขณะนี้เพื่อให้รับซื้อผล ปาล์มที่ 5 บาท/กิโลกรัมนั้น ส่วนตัวเห็นว่าราคา 5 บาท/กิโลกรัม คงเดินไม่ได้เลย เพาะมันจะไปฝืนตลาด เพราะหากจะให้รับซื้อผลผปาล์มดิบที่ 5 บาท/กิโลกรัม ก็หมายถึงราคาน้ำมันปาล์มดิบต้องอยู่ที่ 30 บาท/กิโลกรัม ซึ่งหากราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 30 บาท/กิโลกรัม ราคาน้ำมันปาล์มบริโภคต้องปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงรัฐบาลต้องชดเชยไบโอดีเซลด้วย ฉะนั้น ราคา 5 บาท/กิโลกรัม ปลายทางมันไปไม่ได้แน่นอน
     
     ?ราคา 5 บาท/กิโลกรัม ผมก็อยากได้ เพราะผมเป็นเกษตรกรสวนปาล์มล้วนๆ แต่ปลายทางมันไปไม่ได้ แล้วที่สำคัญรัฐบาลจะเอาด้วยหรือเปล่า เพราะมันจะเหมือนกับโครงการจำนำข้าวเพราะมันไปไม่ได้? ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวทิ้งท้าย