ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 1019 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87537
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  9  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเพิ่มขึ้นในระยะนี้ ส่วนภาคใต้มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง สตูล และกระบี่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์บราซิล เปิดเผยว่า ยอดขายและยอดการผลิตรถยนต์ของบราซิลลดลงเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ผู้บริโภคมีความระวัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้สมาคมปรับลดคาดการณ์การผลิตรถยนต์เป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้  โดยระบุว่ายอดขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 27.5 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สู่ระดับ 212,696 คัน และลดลงเกือบร้อยละ 21.0 ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ สู่ระดับ 1.1 ล้านคัน และระบุว่าการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 25.3 สู่ระดับ 210,086 คัน และลดลงร้อยละ 19.1 ในช่วง5 เดือนแรกของปีนี้
3.เศรษฐกิจโลก
- ผลสำรวจภาวะธุรกิจประจำเดือนพฤษภาคม จากธนาคากลางฝรั่งเศสระบุว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสในไตรมาส 2 ปี2558 จะขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกของปีนี้- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีมีการขยายตัวสดใสต่อเนื่องขณะเดียวกันยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.23 หมื่นล้านยูโร ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลในปี 2543 โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบรายเดือน- สำนักงานศุลกากรจีน เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนพฤษภาคมปรับตัวลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนยังคงเผชิญกับแรงกดดัน ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบรายปี ส่งผลให้จีนมียอดเกินดุลการค้า 3.668 แสนล้านหยวน พุ่งขึ้นร้อยละ 65.0 ส่วนมูลค่าการค้าต่างประเทศโดยรวมของจีนลดลง ร้อยละ 9.7 เทียบรายปีสู่ระดับ 1.97 ล้านล้านหยวน- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน อยู่ที่ 1.33 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.72 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.17 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.45 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.89 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน กรกฎาคม ปิดตลาดที่ 58.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 0.99 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากจีนมีรายงานว่า จีนนำเข้าน้ำมันลดลงในเดือนพฤษภาคม และจากข่าวที่ว่าอิหร่านวางแผนที่จะส่งออกน้ำมันดิบกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือน กรกฎาคม ลดลง 0.62 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 62.69 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือน กรกฎาคม 2558 อยู่ที่ 224.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ 236.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.3 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 186.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.70 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- รัฐมนตรีฝรั่งเศส เปิดเผยว่า เขายังคงเชื่อว่ากรีซ และกลุ่มเจ้าหนี้จะสามารถตกลงกันได้ และเชื่อว่าหากกรีซต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน ก็จะไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ในยุโรป- หน่วยงานวิจัยด้านสินเชื่อของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จำนวนบริษัทล้มละลายในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 13.2 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 724 แห่ง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 25 ปี
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับราคาลงมา เพราะถ้ายังฝืนซื้อในราคาสูงก็จะขาดทุนและขายออกยาก แม้ว่าผลจะยังคงออกสู่ตลาดน้อย ก็ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของผลผลิต อาจจะส่งผลให้ราคาปรับลงมาบ้าง เพราะโดยภาพรวมอุปสงค์ยางยังคงซบเซาตามเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานยางจีน หลังจากสำนักงานศุลกากรจีนรายงานการนำเข้าเดือนพฤษภาคมลดลงถึงร้อยละ 18.1 อีกทั้งวิกฤตหนี้กรีซและกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หลังจากข้อมูลแรงงานออกมาแข็งแกร่งเกินคาด อย่างไรก็ตาม อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อยยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา