ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 873 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  5  ตุลาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ
 
-พายุ โซนร้อนมูจีแก(MOJIGAE) จะมีกำลังอ่อนลงเป็นพายุดีเปรสชั่นทำให้ภาคะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนกระจายร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ทำให้ในระยะนี้สภาพอากาศทางภาคใต้เอื้อต่อการกรีดยาง ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
 
2.การใช้ยาง
 
- ออโตดาต้าคอร์ป   ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านยานยนต์ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่ายอดขายรถยนต์ใหม่ในตลาดสหรัฐฯ   ในเดือนกันยายน ซึ่งรวมถึงรถยนต์นั่งโดยสารและรถบรรทุกน้ำหนักเบาอยู่ที่   1,442,460 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า บริษัทของญี่ปุ่นคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ   1.2  ในระยะเวลาอีก 1 ปีข้างหน้า ซึ่งลดลงจากระดับคาดการณ์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี และต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายของ BOJ
- สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFE) เปิดเผยว่าจีนมียอดขาดดุลการค้าภาคบริการในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นแตะ 1.436 แสนล้านหยวนในเดือนสิงหาคม เทียบกับ   1.676 แสนล้านหยวนในเดือนกรกฎาคม
- กระทรวงฝ่ายกิจกรรมภายในประเทศของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนประจำเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ซึ่งปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนตลอดช่วงครึ่งเดือนแรกนั้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ของประเภท   เช่น เครื่องดื่มและเครื่องปรับอากาศมียอดจำหน่ายสูงขึ้น
- สถาบันจัดการด้านอุปสงค์ของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมภาคธุรกิจในนครนิวยอร์กหดตัวลงในเดือนกันยายน เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคม และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี โดยรายงานระบุว่าดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กลดลงสู่ระดับ 44.5 ในเดือนกันยายน จากระดับ 51.1 ในเดือนสิงหาคม หลังจากพุ่งแตะ 68.8 ในเดือนกรกฎาคม
- กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐฯ ปรับตัวลงในเดือนสิงหาคม โดยลดลงมากที่สุดในรอบ 8 เดือน นำโดยการดิ่งลงของอุปสงค์เครื่องบินพาณิชย์ ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือนสิงหาคม หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนกรกฎาคม
 
4.   อัตราแลกเปลี่ยน
 
-   เงินบาทอยู่ที่ 36.42 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  แข็งค่า 0.13 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
-   เงินเยนอยู่ที่ 119.91 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ  แข็งค่า 0.07 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 45.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปี ซึ่งบ่งชี้ว่าผลผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ กำลังหดตัว
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวขึ้น 0.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 48.13 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6.   การเก็งกำไร
 
- TOCOM ส่ง มอบเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ 159.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 170.0   เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 132.0   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ   รายงานว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่งในเดือนกันยายน   ขณะที่อัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 ปี   หรือนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2008
 
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางทรงตัวเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย   เพราะได้มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด ประกอบกับจีนยังคงหยุดยาวทำให้ตลาดต่างประเทศเงียบ ๆ ขณะที่ภาคใต้มีฝนตกเล็กน้อย   ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
 
  แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกมาจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ใน ระดับอ่อนค่าในรอบกว่า 7 ปี ประกอบกับข้อมูลจ้างงานของสหรัฐฯ ออกมาย่ำแย่ได้จุดกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่าและปริมาณอุปทานยางออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น หลังจากสภาพอากาศทางภาคใต้เอื้อต่อการกรีดยาง


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา