วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝนคะนองเกือบทั่วไปร้อยละ 40?70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2.การใช้ยาง
- ออโต้ดาต้า คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านยานยนต์ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในตลาดสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม ซึ่งรวมถึงรถยนต์นั่งโดยสารและรถบรรทุกน้ำหนักเบาอยู่ที่ 1,455,516 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบรายปี ทำสถิติปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16
3. เศรษฐกิจโลก
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีน ซึ่งมาร์กิตทำร่วมกับไฉซิน เพิ่มขึ้นแตะ 52.0 ในเดือนตุลาคม จากระดับ 50.5 ในเดือนกันยายน ซึ่งบ่งชี้ว่า กิจกรรมทางธุรกิจในภาคบริการปรับตัวแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งได้ช่วงชดเชยกับภาวะอ่อนแอของภาคการผลิต
- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ระบุว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกี่ยวข้องกับจีน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นสาเหตุหลัก 2 ประการที่อาจทำให้ทางบริษัทปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของหลายประเทศในปีหน้า โดยการชะลอตัวอย่างหนักของเศรษฐกิจจีน จะส่งผลกระทบอย่างหนักของเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องพึ่งทางการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์
- ผลสำรวจของมาร์กิต ระบุว่า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของยูโรโซนในเดือนตุลาคมแตะ 54.1 จาก 53.7 ในเดือนกันยายน แต่ขยับลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับข้อมูลเบื้องต้นที่ 54.2
ภาคบริการของเยอรมนีในเดือนตุลาคม ขยับขึ้นสู่ระดับ 54.5 จาก 54.1 ในเดือนกันยายน
ภาคบริการของฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52.7 ซึ่งสูงสุดในรอบ 4 เดือน จาก 51.9 ในเดือนกันยายน
การบริการของอิตาลีในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นแตะ 53.4 จาก 53.3 ในเดือนกันยายน และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคบริการของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 54.8 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนจากระดับ 55.1 ในเดือนกันยายน หลังจากเพิ่มขึ้นแตะ 56.1 ในเดือนสิงหาคม
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการอุปทาน (ISM) พบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 59.1 ในเดือนตุลาคม จากระดับร้อยละ 56.9 ในเดือนกันยายน
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.0 ในเดือนกันยายน สู่ระดับ 4.08 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน โดยการส่งออกปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.6 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 1.8 จากการลดลงร้อยละ 8.3 ของมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2004
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.53 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 121.47 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.11 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 46.32 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 1.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธันวาคม ปรับตัวลดลง 1.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 48.58 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.85 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 146.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 156.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 122.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15 ? 16 ธันวาคม นี้ แต่ก็ย้ำว่าขณะนี้เฟดยังไม่ได้มีการตัดสินใจแต่อย่างใด
- ผลสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐฯ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 182,000 ตำแหน่ง ในเดือนตุลาคม สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือปรับลดลงเล็กน้อยตามตลาดต่างประเทศ เพราะได้มีปัจจัยใหญ่ ๆ กระตุ้นตลาด โดยภาพรวมความต้องการซื้อมีน้อย เห็นได้จากการขายออกยาก ไม่มีผู้ซื้อ และเสนอซื้อในราคาต่ำมาก ขณะที่ปริมาณการผลิตออกสู่ตลาดน้อยมากเพราะฝนตกในบางพื้นที่
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธันวาคม นี้ อย่างไรก็ตาม เงินเยนอ่อนค่าและอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย จากสภาพอากาศทางภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา