ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 941 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88364
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  3  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีลมแรง ส่วนภาคใต้มีฝนในเกณฑ์กระจาย และตกหนักเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 10 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางภาคใต้ตอนล่าง อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมสภาพอากาศไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- องค์กรการศึกษาด้านยางระหว่างประเทศ (IRSG) เปิดเผยตัวเลขปริมาณการผลิตยางสังเคราะห์ทั่วโลกช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 10.80 ล้านคัน โดยลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.0 ผลจากการผลิตของประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตยางสังเคราะห์รายใหญ่ที่สุดของโลกได้ปรับลดลงร้อยละ 6.5 มีปริมาณการผลิตที่ 2.07 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ผลิตได้ 2.21 ล้านตัน สาเหตุจากการอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจจีน

3. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ขยับขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ในเดือนมกราคมเมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืด เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อยังอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 1.0 เป็นเวลานานติดต่อกันหลายเดือน

- ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6.75 โดยธนาคารกลางชะลอการปรับอัตราดอกเบี้ยไปจนกว่ารัฐบาลจะเปิดเผยงบประมาณในเดือนนี้

- ธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดเม็ดเงินอีก 1 แสนล้านหยวนเข้าสู่ตลาดการเงินผ่านการดำเนินงานทางตลาดเงิน เพื่อป้องกันวิกฤตสภาพคล่องก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีน

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.82 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.19 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 119.63 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.17 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดตลาดที่ 29.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่ารัสเซียผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมกราคม รวมทั้งรายงานจากการปิโตรเลียมสหรัฐฯ (API) ระบุว่าสต๊อคน้ำมันของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดที่ 32.72 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียพร้อมจัดการประชุมกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อหารือเกี่ยวกับการผลิต ท่ามกลางการปรับตัวลงของราคาน้ำมันในตลาด ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ระบุว่า ยังไม่มีการกำหนดวันประชุมกับรัสเซีย และผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปค

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 149.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 153.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 123.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เดือนธันวาคมจำนวนคนว่างงานในยูโรโซนลดลงเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 4 ปี โดยอัตราว่างงานในยูโรโซนลดลงสู่ระดับร้อยละ 10.4 จากร้อยละ 10.5 ในเดือนพฤศจิกายน

- สำนักงานแรงงานรัฐบาลเยอรมันรายงานว่า อัตราว่างงานเดือนมกราคมปรับตัวลดลงจากร้อยละ 6.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.2 ทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานลดลง 20,000 คน มาอยู่ที่ 2.73 ล้านคน สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานเยอรมัน

- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของบริษัทรอยัลดัทช์ เซลส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกลงสู่ระดับ A+ จากระดับ AA- พร้อมเตือนว่าจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก นอกจากนี้ยังได้ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของบริษัทพลังงานรายอื่น ๆ ของยุโรปลงสู่ระดับ ?เชิงลบ?

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัว เพราะปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากใกล้หยุดกรีด ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนต้องเร่งซื้อเพื่อเก็บสต๊อค เพราะเกรงขาดแคลนยาง อย่างไรก็ตาม ตลาดต่างประเทศยังคงเงียบ ผู้ซื้อชะลอการซื้อเตรียมหยุดยาวในเทศกาลตรุษจีน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ประกอบกับสหรัฐฯ และจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้เกิดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตที่ลดลง เนื่องจากใกล้เข้าสู่
ฤดูยางผลัดใบ ยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา