วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยตอนบนโดยทั่วไปมีอากาศร้อนและมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 40 - 42 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- บริษัทรถยนต์รายใหญ่สหรัฐฯ รายงานยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ มีแนวโน้มทำยอดจำหน่ายเดือนมีนาคมสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี
3. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อน ปรับลดลงน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.8
- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีเศรษฐกิจซึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลง โดยดัชนีพ้องเศรษฐกิจลดลง 3.2 จุดจากเดือนก่อน อยู่ที่ 110.3 เมื่อเทียบกับระดับฐาน 100.0 ปี 2553 ขณะที่ดัชนีนำเศรษฐกิจซึ่งเป็นคาดการณ์สถานการณ์ช่วง 2 - 3 เดือนข้างหน้าลดลง 2.0 จุด อยู่ที่ 99.8 จุด
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) พบว่า เดือนมีนาคมภาคบริการของสหรัฐฯ มีการขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้อยู่ที่ 54.5 จาก 53.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2557
- ฟิทซ์ เรทติ้งส์ เปิดเผยรายงานโดยมีใจความว่า จีนจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรง หรือฮาร์ด แลนดิ้ง ได้ในอนาคตอันใกล้นี้
- รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประจำวันที่ 15 - 16 มีนาคม 2559 ระบุว่าเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายเฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และยังได้แสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนกุมภาพันธ์สหรัฐฯ มีตัวเลขขาดดุลการค้ามากกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากการนำเข้าสูงกว่าการส่งออก ทั้งนี้ตัวเลขขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 สู่ระดับ 4.71 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวเตือนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวขึ้น แต่ยังอยู่ในขั้นตอนที่เปราะบาง
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมีนาคม ดังนี้
จีน เพิ่มขึ้นแตะ 52.2 จากเดือนกุมภาพันธ์ที่ 51.2 เนื่องจากภาคบริการมีอุปสงค์เพิ่มขึ้น
ยูโรโซน ลดลงแตะ 53.1 เมื่อเทียบกับรายงานเบื้องต้นที่ 54.0 และเดือนกุมภาพันธ์ที่ 53.3
ฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นแตะ 49.9 เป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 49.2 ในเดือนกุมภาพันธ์
อิตาลี ลดลงแตะ 51.2 จาก 53.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน
เยอรมัน ลดลงแตะ 55.1 จาก 55.3 ในเดือนกุมภาพันธ์
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.13 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.52 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.61 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 ปิดตลาดที่ 37.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.86 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ปรับตัวลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 ปิดที่ 39.84 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.97 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันรายสัปดาห์สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 4.9 ล้านบาร์เรล ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 เมษายน 2559
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 174.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 178.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 161.80 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานเดือนกุมภาพันธ์พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี โดยชาวอเมริกันที่มีงานทำมีจำนวน 5.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากเดือนมกราคม และเป็นการปรับขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549
- รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนส่งเสริมภาคเอกชนลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยวางเป้าหมายที่จะขยายขนาดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็น 2 เท่า สู่ระดับ 30 ล้านล้านเยน ภายในปี 2563
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น โดยมีแรงหนุนที่สำคัญคือ ปริมาณยางมีน้อยมาก ทำให้ผู้ประกอบการเร่งซื้อ เพราะคาดว่าสภาพอากาศที่แห้งแล้งจะทำให้ขาดแคลนยางไปอีก 1 - 2 เดือน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และได้รับปัจจัยบวกจากอุปทานยางที่มีน้อยในสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัด ประกอบกับนักลงทุนขานรับข้อมูลภาคบริการที่สดใสของจีน รวมทั้งรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ระบุว่าเฟดยังไม่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับตัวลดลงเนื่องจากเงินเยนแข็งค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 17 เดือน ยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา