พร้อมให้กลุ่มเกษตรกรกู้พันล้าน 5.6 แสนครัวเฮ/ยาง-อ้อยหมดสิทธิ์ผิดเงื่อนไขโดย
ฐานเศรษฐกิจ -
24 May 2559

ลั่นระฆังปล่อยกู้ 1 พันล้านปลอดดอกเบี้ย 5 ปี ?อุบลศักดิ์? เผยความคืบหน้า งบประมาณมาแล้ว เร่งรัดกลุ่มเกษตรกรเที่ผ่านมาตรฐานกรมตรวจบัญชีสหกรณ็ 3.27 พันกลุ่ม 77 จังหวัดรวมกว่า 5.6 แสนครอบครัว ขณะยาง-อ้อยหมดสิทธิ์กู้จากผิดวัตถุประสงค์โครงการ ยันไม่ห่วงเกษตรกรเบี้ยวหนี้ มั่นใจคืนครบ 100%
นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย และกรรมการในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร เปิดเผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ถึงโครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ในการผลิตและการตลาด ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ และ 24 พฤศจิกายน 2558 ที่ได้ให้ความเห็นชอบอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์ จำนวน 1 พันล้านบาทมาแล้ว โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์รับรองมาตรฐาน จำนวน 3.27 พันกลุ่มเกษตรกร ใน 77 จังหวัดรวม 5.6 แสนครอบครัว จากทั้งหมด 5.61 พันกลุ่ม มีสมาชิกจำนวน 6.18 แสนครอบครัว ซึ่งมีปริมาณธุรกิจรวม 1.06 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการให้เงินกู้ยืม 1.31 พันล้านบาท จัดหาปัจจัยการผลิต 1.34 พันล้านบาท รวบรวมผลผลิต 6.93 พันล้านบาท แปรรูปผลผลิต 808 ล้านบาท และอื่นๆ 261 ล้านบาท
จุดเด่นของกลุ่มเกษตรกร คือมีขนาดเล็ก มีการจัดการให้ความช่วยเหลือกันตามลักษณะพื้นบ้าน ไม่มุ่งเน้นการแสวงหากำไรจากสมาชิก ทำให้ไม่สามารถสร้างเครดิตให้กับแหล่งเงินทุนในระบบที่จะให้เงินทุนหรือเงิน กู้กับกลุ่มเกษตรกรโดยตรงในแต่ละแห่งได้ ยังจำเป็นต้องพึ่งแหล่งเงินทุนจากภาครัฐเป็นหลัก โดยเฉพาะกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เป็นแหล่งเงินทุนที่เก็บจากค่าธรรมเนียมการส่งออกข้าวจากผู้ส่งออก(ค่า พรีเมียมข้าวตั้งแต่ปี 2519-2529)
นายอุบลศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินการตามโครงการนี้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ระยะเวลาโครงการ 5 ปี (ปี 2559-2564) ซึ่งมีหลักเกณฑ์การจัดสรรจำนวน 1 พันล้าน งบประมาณดังกล่าวมาเรียบร้อยแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 จัดสรรวงเงิน 60% หรือประมาณ 600 ล้านบาท ให้กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 3.27 พันกลุ่ม ส่วนที่ 2 จัดสรรเงิน 40% หรือประมาณ 400 ล้านบาท สำหรับสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่ได้มาตรฐานทั้งสิ้น 5.60 แสนครอบครัว เกษตรกรจะได้รับ 2 ต่อ ทั้งเงินกู้ยืมจากกลุ่ม และจากที่ตนเป็นสมาชิกด้วย วงเงินที่ได้ก็เพิ่มเช่นเดียวกัน
สำหรับคุณสมบัติของเกษตรกรที่จะกู้เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จะต้องอยู่ในกลุ่มเกษตรกรที่ได้มาตรฐาน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ไม่ผิดนัดชำระหนี้เงินทุนอื่นๆ ของทางราชการ และไม่อยู่ในระหว่างการถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการเงินจากกรมส่งเสริมสหกรณ์
อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ก็คือ กลุ่มเกษตรกรมีเงินทุนในการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจได้อย่างกว้างขวาง สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์การผลิตทั้งพืชและสัตว์มาบริการสมาชิกได้อย่างทั่ว ถึงสอดคล้องกับความตัองการของสมาชิก โดยเฉลี่ย 3 หมื่นบาทต่อคน สามารถลดต้นทุนการผลิตและรายได้เพียงพอแก่การดำรงชีพ นอกจากนี้กลุ่มเกษตรกรสามารถขยายตลาดจำหน่ายผลิตผลได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับการสนับสนุนเงินทุนปลอดดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 3 -5 แสนบาทต่อกลุ่ม ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าภาคเอกชนมีเงินทุนเพียงพอในการประกอบอาชีพการ เกษตร
?กลุ่มเกษตรกรที่ไม่สามารถกู้ในโครงการนี้ได้ คือ ชาวสวนยางพารา เพราะระยะเวลาการปลูกและให้ผลผลิตเกิน 2 ปี ขัดกับวัตถุประสงค์โครงการที่ต้องเป็นเงินกู้หมุนเวียนใช้ในการผลิตในระยะ เวลาไม่เกิน 2 ปี และชาวไร่อ้อยก็ไม่สามารถกู้ได้ เพราะมีกองทุนอ้อยฯอยู่แล้ว สำหรับโครงการนี้จัดมา 2-3 ครั้งส่วนใหญ่เกษตรกรจะชำระหนี้ 98% แต่ครั้งนี้จะให้เกษตรสามารถจ่ายหนี้ได้ 100 % และมีการจัดสรรเงินอย่างเป็นธรรม ในรูปแบบคณะกรรมการ จึงอยากให้เกษตรกรเร่งเขียนโครงการนำเงินไปใช้หมุนเวียนในกลุ่มได้แล้ว?
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,159 วันที่ 22 ? 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559