ผู้เขียน หัวข้อ: กยท.บี้ซิโนเคมทำแผนรับมอบยางหลังรับล็อตแรกแล้วหายเงียบ  (อ่าน 775 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87701
    • ดูรายละเอียด
กยท.บี้ซิโนเคมทำแผนรับมอบยางหลังรับล็อตแรกแล้วหายเงียบ
วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม  2016 เวลา 11:13 น.


 
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการยางฯ



 
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ได้หารือกับ บริษัท ซิโนเคม อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์เปอเรชั่น จำกัด กรณีที่ซิโนแคมขอให้ กยท.ชะลอส่งมอบยางล็อตที่ 2 เป็นต้นไป หลังจากที่ กยท.ได้ส่งมอบล็อตแรกไปเมื่อเดือนเมษายน 2559 จำนวน 16,667 ตันมูลค่า 26 ล้านเหรียญสหรัฐ จากที่ต้องส่งมอบยางทั้งหมด 12 งวด รวม 2 แสนตัน นั้น กยท.จึงได้เรียกซิโนเคมเข้ามาหารือ ผลปรากฏว่าทางซิโนเคมยังคงยืนยันว่า ไม่มีแนวคิดที่จะยกเลิกสัญญาและพร้อมเดินหน้ารับซื้อยางจาก กยท.ในล็อตที่ 2 ต่อไปจนครบสัญญา ทาง กยท.จึงได้ให้ทางซิโนเคมไปจัดทำรายละเอียดสัญญาซื้อขายล็อตที่ 2 กลับมา เพื่อที่กยท.จะได้ดำเนินการตกลงสัญญาการซื้อขายและส่งมอบต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คงยังไม่สามารถคาดเดาและตอบรายละเอียดได้ว่าจะทำการส่งมอบยางล็อตที่ 2 ให้แก่ซิโนเคมได้เมื่อใด เนื่องจากต้องรอการทำเอกสารอย่างเป็นทางการจากฝ่ายซิโนเคมมาก่อน
 
 
 ?ที่ผ่านมาซิโรเคมได้ทำสัญญาซื้อขายยางรวม 2 แสนตัน แบ่งเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 จำนวน 1.5 แสนตัน และยางแท่ง เอสทีอาร์ 20 จำนวน 5 หมื่นตัน โดยจะต้องส่งมอบให้ซิโนเค็มเดือนละ 16,667 ตัน รวม 12 งวด คิดราคาซื้อขายตามราคาเฉลี่ยของตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าโตเกียว (โตคอม) และตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าสิงคโปร์ (ไซคอม) แต่พอ กยท.ส่งมอบยางล็อตแรกเสร็จหลังจากนั้นซิโนเคมติดปัญหาขอชะลอการส่งมอบล็อตที่ 2 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ทำให้ กยท.ไม่สามารถทำการส่งมอบยางในล็อตที่ 2 ได้จนถึงปัจจุบัน? นายธีธัชกล่าว

แหล่งข่าวจาก กยท.กล่าวว่า ทางซิโนเคมยังคงยืนยันว่า สัญญาซื้อขายทุกอย่างยังคงเป็นไปตามเดิม และจะเร่งเดินหน้ารับซื้อยางจาก กยท.ต่อไปจนครบสัญญาทั้งหมด 2 แสนตัน กยท.จึงได้เร่งรัดให้ซิโนเคมกลับไปทำรายละเอียดสัญญา ซึ่งเมื่อตกลงซื้อขายกันได้สำเร็จแล้ว ทาง กยท.ก็จะดำเนินการจัดหายางตามแผนการเดิม โดยการรับซื้อยางใหม่จากเกษตรกรทั้งหมด ไม่ใช่การนำยางเก่าในสต๊อกมาขาย หรือซื้อจากจากกลุ่มผู้ส่งออกรายใหญ่ 5 บริษัทแต่อย่างใด ซึ่งในสัญญาได้มีการกำหนดสัดส่วนประมาณ 90% ของยางใหม่ที่จะส่งออกให้ซิโนเคมนั้น จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานการแปรรูปยางจากกลุ่มผู้ส่งออกยางรายใหญ่ 5 บริษัท หรือกลุ่ม 5 เสือยางพารา ส่วนอีก 10% จะต้องเป็นเกษตรกรที่ผ่านการรับมาตรฐานจีเอ็มพี

ที่มา : มติชนออนไลน์ (18 ต.ค. 59)