ผู้เขียน หัวข้อ: ซัด กยท.!! แกนนำสวนยางจี้เลิกประมูลปุ๋ยเคมี ปูดเทยางสต๊อกราคาต่ำซ้ำเติมเกษตรกร  (อ่าน 588 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82928
    • ดูรายละเอียด
ซัด กยท.!! แกนนำสวนยางจี้เลิกประมูลปุ๋ยเคมี ปูดเทยางสต๊อกราคาต่ำซ้ำเติมเกษตรกร


วันศุกร์ ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561, 19.15 น. ที่มา แนวหน้า

 ซัด กยท.!! แกนนำสวนยางจี้เลิกประมูลปุ๋ยเคมี ปูดเทยางสต๊อกราคาต่ำซ้ำเติมเกษตรกร


ซัด กยท.!! แกนนำสวนยางจี้เลิกประมูลปุ๋ยเคมี ปูดเทยางสต๊อกราคาต่ำซ้ำเติมเกษตรกร


24 ส.ค.61 นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สยยท.) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกร และโรงงานขนาดเล็กว่าทางหน่วยธุรกิจของ กยท. คือ บียู ได้นำยางในสต็อก ออกมาขายในราคา 39.50 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) ต่ำกว่าราคาตลาดโดยเฉลี่ย 5-6 บาทต่อ กก. และสูงกว่าราคาขี้ยาง 1-2 บาทต่อ กก. เรื่องนี้ตั้งคำถามว่าเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรหรือไม่

นอกจากนี้ มีปัญหาในการบริหารของ กยท.ที่ต้องเร่งแก้ไขหลายประเด็น เช่น กรณีซื้อปุ๋ยเคมีแจกเกษตรกรสวนยาง ประมูลครั้งละ 7 หมื่นตัน แต่เมื่อเทียบยี่ห้อเดียวกันกลับมีราคาแพงกว่าท้องตลาดตันละ 3 พันบาท ทุกปีมีความล่าช้ากว่าเกษตรกรจะได้ใช้ปุ๋ยจาก กยท.ต้องรอข้ามไปอีกปี เพราะติดขั้นตอนประมูล ซึ่ง กยท.ควรเลิกประมูลปุ๋ยเคมีได้แล้ว เปลี่ยนมาโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ให้ไปซื้อเลือกใช้ปุ๋ยเคมีได้เองที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และต้นยาง โดย กยท.จะไม่ต้องจ่ายค่าบริหาร ค่าเก็บรักษา ค่าขนส่ง

อีกทั้งยังมีการใช้งบบริหารในหน่วยงานสูง เพราะใช้คนมากโดยไม่จำเป็น เช่น ตั้ง ผอ.เขต กับตั้งผอ.จังหวัดเล็ก ให้มีคนมีตำแหน่งเท่ากับจังหวัดใหญ่ และปัญหาการควบรวม 3 องค์กร เช่น องค์การสวนยาง กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กับสถาบันวิจัยยาง ของกรมวิชาการเกษตร แต่นำมารวมไว้กับ กยท. ทำให้งานซ้ำซ้อน เพราะกรมวิชาการเกษตรยังมี พ.ร.บ.ควบคุมยาง โดยมีการเสนอให้สถาบันวิจัยยางควรไปสังกัดกรมวิชาการเกษตรตามเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย ได้รวมองค์กรทั้ง 3 แห่งไว้ด้วยกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงเงินมาตรา49(1) ใช้เงินบริหารจากการเก็บค่าธรรมเนียมส่งออกยาง กิโลกรัมละ 2 บาท เก็บได้ปีละราว 8 พันล้านบาท เกิดปัญหางบบริหารไม่พอใช้ เรื่องนี้จะต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร โดยเฉพาะประธานบอร์ด กยท.ที่ตั้งโดยรัฐบาล จะต้องประสานกับภาครัฐ วิ่งล็อบบี้ รัฐบาลของบมาเพิ่มได้หรือไม่ ต้องรอดูเพาเวอร์ประธานบอร์ด กยท.

https://line.me/R/ti/p/%40rakayang.com
ในภาพอาจจะมี ข้อความ
ด้านแหล่งข่าวจาก กยท. เผยถึงสาเหตุที่ บียู ต้องนำยางออกมาจำหน่าย เนื่องจาก นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ กยท.สั่งระงับการซื้อขายยางจากโรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยก่อนหน้านั้นโรงงานก็ซื้อยางมาเก็บ แล้วขายไม่ได้ ทางบอร์ดก็กลัวว่าจะเป็นยางเก่าที่เพิ่มใหม่อีก จึงสั่งให้ บียู เคลียร์ขายให้หมด ยอมรับว่าขายต่ำบ้างสูงบ้าง และในเร็วๆนี้จะมีการขายยางในสต๊อก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางจำนวน 5.3 หมื่นตัน และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวน 5.1 หมื่นตัน รวม 1.04 แสนตัน ซึ่งมีภาระค่าโกดังปีละ 99 ล้านบาท ค่าประกันภัย 42 ล้านบาท ค่าบริหารโครงการ (ค่าจ้างลูกจ้าง รปภ.ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ที่พักและค่าใช้จ่ายสำนักงาน) 15 ล้านบาท รวมเป็นค่าใช้จ่าย 156 ล้านบาท ปัจจุบันได้ชำระหนี้ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  (ธ.ก.ส.) แล้ว 1.43 หมื่นล้านบาท คงเหลือ 1.72 หมื่นล้านบาท?การใช้ยางในประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการทำถนนยางพารามีเอกชนผู้ผลิต นำเข้ายางมะตอย ไม่เห็นด้วย อ้างเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีราคาการปรับเปลี่ยนไปตามอุปสงค์และอุปทานของตลาด จึงไม่มีความเหมาะสมในการนำยางพาราปริมาณมากมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น ทำถนน และเมื่อกลับมาย้อนคิดก็เข้าทางบอร์ด เนื่องจากหากเพิ่มการใช้ยางในประเทศ  50% จากปัจจุบันอัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ส่งออกยาง(เซสส์) ในอัตรา กก.ละ 2 บาท หากเก็บได้ปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ถ้าหั่นรายได้เหลือ 50% รายได้ขาดหายไปครึ่งหนึ่ง ซึ่งในบอร์ดมีการถกกันว่าในอนาคตจำเป็นที่จะต้องหั่นเงินอุดหนุนเกษตรกรปลูกแทนจากไร่ละ 1.6 หมื่นบาท อาจเหลือแค่ 3 พันบาทต่อไร่ เพื่อทำให้ กยท.เลี้ยงตัวเองได้ จึงทำให้การใช้ยางในประเทศไม่มีความคืบหน้า? แหล่งข่าว กล่าว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2018, 07:53:10 AM โดย Rakayang.Com »