ผู้เขียน หัวข้อ: เคลียร์ปมฉาวถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ฮั้วประมูล  (อ่าน 902 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87586
    • ดูรายละเอียด
เคลียร์ปมฉาวถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ฮั้วประมูล
ลงวันที่ 21 JUN 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ  http://www.thansettakij.com/content/403680

"กฤษฎา" เปิดผลสอบฮั๊วประมูลถนนพารายซอยซีเมนต์นั้นไม่จริง ชี้ กยท.ไม่ใช่หน่วยงานอำนาจอนุมัติให้มีการจัดซื้อหรือจัดจ้างเอกชนในการปรับปรุงหรือก่อสร้างถนนเท่านั้น ผลพวงนโยบายดึง อปท.ดันจิตวิทยาใช้ในประเทศอัพราคายางพุ่ง 60 บาทต่อกิโลกรัม
       





นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยจากกรณีที่มีผู้ประกอบการยางพาราเข้าร้องเรียนต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้อำนวยการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล (สายด่วน 1111) โดยกล่าวหาว่า พบข้อพิรุธและสงสัยในข้อมูลที่ประกาศรายชื่อทางเวปไซต์ของการยางแห่งประเทศไทย (ก.ย.ท.) ซึ่งปรากฏชื่อ บริษัทเอกชน 3 รายที่ผ่านการรับรองแลัว ได้แก่ 1.บริษัท โพลิเมอร์ อินโนเวชั่น จำกัด  2.บริษัท สยามนวกรรม จำกัด และ 
3.บริษัท ไทย อีลาสโตพาร์ท จำกัดประกาศอยู่ในเว็ปไซต์ของก.ย.ท.


โดยแจ้งว่า เป็นบริษัทที่มีน้ำยางพาราผสมสารเพิ่มถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกประการ และหากเกษตรกรหรือผู้ประกอบการรายใดประสงค์จะเข้าประกวดราคาทำถนนผสมยางพาราในหน่วยงานของรัฐนั้นจะต้องซื้อน้ำยางพาราผสมสารเพิ่มจาก 3 บริษัทนี้เท่านั้น ตามราคาที่กำหนดหรือตกลงกัน ซึ่งกลุ่มผู้ร้องเรียนกล่าวหาว่า เป็นการซื้อน้ำยางพาราผสมสารเพิ่มในราคาสูงมากและผูกขาดนั้น


"สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจประการแรกคือ การยางแห่งประเทศไทย (ก.ย.ท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรฯ มีภารกิจคือ ดูแลเกษตรกรชาวสวนยางในการปลูก การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การหาช่องทางให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตยางพารา ตลอดจนส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ดังนั้นก.ย.ท. จึงไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจอนุมัติให้มีการจัดซื้อหรือจัดจ้างเอกชนในการปรับปรุงหรือก่อสร้างถนน"



เมื่อปี 2560 - 2561 ราคายางพาราตกต่ำทำให้เกษตรกรชาวสวนยางเดือดร้อนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ รัฐบาลได้มีนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบปัญหาราคายางตกต่ำ โดยได้กำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรหลายประการ  ซึงหนึ่งในแนวทางสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางคือ  โครงการใช้ยางพาราในภาครัฐ เพื่อยกระดับราคายางพารา โดยครม.  ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำน้ำยางพาราไปผสมผงปูนซีเมนต์ทำถนนแทนการทำถนนด้วยดินลูกรัง เรียกว่า ?ถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ? (ถนนพาราซอยซีเมนต์) ใช้แทนถนนลูกรังในชนบททั่วประเทศจำนวน 75,032 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 กิโลเมตร รวมระยะทาง 75,032 กิโลเมตร


ต่อมาได้เพิ่มความยาวถนนในโครงการฯ เป็น 3 แสนกิโลเมตร โดยทยอยทำปีละ 50,000 กิโลเมตร ซึ่งผลจากโครงการดังกล่าว ทำให้ราคายางพาราในปี 2562 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้ (วันที่ 21 มิถุนายน 62) ราคาน้ำยางสดปรับมาถึง 52.50 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เริ่มแตะกิโลกรัมละ 60 บาท


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 21, 2019, 04:10:31 PM โดย Rakayang.Com »