ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิจัยเตือน "ยางพาราไทย" เจอวิกฤตซ้ำ หากจีนประกาศใช้มาตรฐานสากล FSC  (อ่าน 1251 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87572
    • ดูรายละเอียด
นักวิจัยเตือน "ยางพาราไทย" เจอวิกฤตซ้ำ หากจีนประกาศใช้มาตรฐานสากล FSC


ปัจจุบันยางพาราไทยมีราคาตกต่ำอย่างมาเป็นเวลานานกว่า 5 ปี ทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ประเทศผู้ซื้อยางและไม้ยางพารายังพยายามกดให้ราคาถูกลงอีก โดยใช้ข้อกีดกันทางการค้าอื่นที่ไม่ใช่ภาษี (Non tariff barriers) โดยประเทศผู้ซื้อจะอ้างอิงมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ทั้ง Forest Stewardship Council (FSC) และ Program for the Endorsement of Forest Certification (PEFC)   โดยสถานการณ์ล่าสุดในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่ามีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านยางรถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ ได้ประกาศว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้า ทั้ง 2 บริษัทจะไม่ซื้อยางพารา และไม้ยางพาราที่มีการบุกรุกป่านั้น และในขณะเดียวกันยังมีบริษัทจากต่างประเทศอีกหลายประเทศเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่จะไม่ยอมรับยางพารา และไม้ยางพาราของไทยจากสวนยางที่ไม่ได้รับรองการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานนานาชาติ  ข้อมูลปี 2561 ระบุว่าตลาดส่งออกยางพาราไทยอันดับ 1 คือ จีน ขณะนี้จีนสร้างมาตรฐาน FSC เสร็จแล้ว  ถ้าจีนประกาศใช้เมื่อไหร่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยทันที   ในขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่สวนยางพาราที่มีการจัดการได้รับการรับรองตามมาตรฐานเพียง 122,658 ไร่  หรือ 0.5 % เท่านั้น แต่มีสวนยางที่ไม่ผ่านมาตรฐานสากลถึง 99.5 % ผศ.ดร.ขวัญชัย ดวงสถาพร หัวหน้าภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เสนอแนะแนวที่ค้นพบจากงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกสว. เพื่อตอบโจทย์เร่งด่วนของวิกฤตยางพาราไทยบนพื้นฐานงานวิจัย 6 ข้อ คือ 1) กำหนดเป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วนในการพัฒนาศักยภาพของการทำสวนยางพาราทั้งระบบเพื่อให้ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติ 2) กำหนดหรือสร้างองค์กรที่มีภารกิจในการรับมือ เจรจา และสร้างการรับรู้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น การยางแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัย 3) พัฒนาศักยภาพและสร้างความพร้อมของผู้ทำสวนยางพารา ผู้ประกอบธุรกิจไม้ยางพารา และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ให้ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติโดยด่วน 4) สร้าง Forest Management Standard for Thailand บนพื้นฐานของงานวิจัย ที่ได้รับการรับรองจาก FSC หรือ PEFC 5) เร่งวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมของการจัดการสวนยางพาราที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบในประเทศไทย เช่น การปลูกเชิงเดี่ยว และการปลูกพืชร่วมยางพารา เพื่อรองรับการตรวจมาตรฐาน ภายใน 1 - 2 ปี และ 6) ผลักดัน เร่งรัด และเพิ่มศักยภาพให้สวนยางพาราไทยผ่านมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติตามปริมาณและความต้องการของผู้ซื้อภายใน 2 ปี
.
#สกสว.
#ThailandScienceResearchAndInnovation
#TSRI
#TSRIResearchBrief