ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1269 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  3  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t][/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยางด
 
2. การใช้ยาง
 
- ออโต้ดาต้า คอร์ป บริษัทวิจัยด้านยานยนต์ของสหรัฐฯ เปิดเผยยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในตลาดสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน ซึ่งรวมถึงรถยนต์นั่งโดยสารและรถบรรทุกน้ำหนักเบา อยู่ที่ 1,420,994 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2   เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่   4 ขณะที่ยอดจำหน่ายโดยรวมต่อปีอยู่ที่ 16.98 ล้านคัน นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานาว่า สต๊อคยางจีน ณ ท่าเรือชิงเต่าปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ที่ระดับ 305,500 ตัน โดยเฉพาะสต๊อคยางธรรมชาติเพียงอย่างเดียวปรับลดลงสู่ระดับ 250,300 ตัน แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีนเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิถุนายนลดลงสู่ระดับ 55.0 จุด จาก 55.5 จุดในเดือนพฤษภาคม
- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ   (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมภาคธุรกิจในนิวยอร์กเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ 60.5 จุด จาก 55.3 จุดในเดือนพฤษภาคม
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 เนื่องจากการปรับตัวของอุปสงค์ในยุทโธปกรณ์ แต่อย่างไรก็ดีมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของการลงทุนภาค เอกชน   ซึ่งอาจนำไปสู่การขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเป็นวงกว้างในสหรัฐฯ
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.38 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.87 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.21 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 104.48 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.86 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากข่าว
 ท่อส่งน้ำมัน 3 แห่งของลิเบียสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดได้รับแรงหนุนจากสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 มิถุนายน 2557 ปรับตัวลดลง   3.2 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะลดลง 2.4 ล้านบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 205.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 214.5 เยนต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 2.6 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 206.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 1.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- ออโตเมติคดาต้า   โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) บริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนภาคธุรกิจของสหรัฐฯ จ้างงานเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิถุนายน โดยรายงานระบุว่าภาคเอกชนของสหรัฐฯ จ้างงานเพิ่มขึ้น 281,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ตำแหน่ง
- บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งในเมืองที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซาที่ สุดของจีน พยายามกระตุ้นยอดจำหน่ายบ้านด้วยการรับซื้อคืนบ้านที่เคยขายในราคาที่สูง กว่าเดิม   ท่ามกลางภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา และส่อเค้าว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนในอนาคต
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ผู้ประกอบการกล่าวว่าราคายางในระยะนี้คาดการณ์ยาก เพราะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ และผู้ประกอบการหลายรายมีการปรับราคายางให้เข้าสู่ความเป็นจริงตามตลาดล่วง หน้าสิงคโปร์   ซึ่งได้มีการซื้อเกินราคามาอย่างต่อเนื่อง
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินเยน และได้แรงหนุนจากข้อมูลการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นมากของสหรัฐ ประกอบกับมีรายงานสต๊อคยางจีน ณ ท่าเรือชิงเต่า วันที่ 30 มิถุนายน 2557 ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 305,500 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังคงระมัดระวังในการซื้อขาย เพื่อจับตาดูตัวเลขรายงานประจำเดือนมิถุนายนของภาครัฐที่จะเปิดเผยในวันนี้ และราคายางยังมีปัจจัยเสี่ยงจากน้ำมันปรับตัวลดลง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]