ผู้เขียน หัวข้อ: ปีหน้าเผาจริงยางล้นหนึ่งล้านตัน เร่ง"คสช."ตั้งตลาดซื้อขาย-ปล่อยกู้ซื้อเครื่องจักร  (อ่าน 1664 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84880
    • ดูรายละเอียด



ปีหน้าเผาจริงยางล้นหนึ่งล้านตัน เร่ง"คสช."ตั้งตลาดซื้อขาย-ปล่อยกู้ซื้อเครื่องจักร




 19 ก.ค. 2557 เวลา 10:30:13 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


ยางพารา ปีหน้าส่อเค้าเผาจริง 3 ชาติผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกผวา ปีหน้ายางล้นเกินความต้องการสูงถึง 1 ล้านตัน เร่ง คสช.พิจารณาจัดตั้งตลาดซื้อขายส่งมอบจริง และปล่อยกู้ 2 หมื่นล้านให้สถาบันเกษตรกร-โรงงานแปรรูปซื้อเครื่องจักรเพื่อเพิ่มมูลค่า สินค้า


แหล่งข่าววงการยางพาราเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์ยางพาราว่า จากการประชุมองค์การความร่วมมือไตรภาคีด้านยางพารา (ITRC) ของ 3 ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมต่างหวั่นวิตกถึงผลผลิตส่วนเกินความต้องการของตลาดโลก หรือภาวะโอเวอร์ซัพพลายยางในปี 2558 จะสูงถึง 1 ล้านตัน


ขณะที่ภาวะโอเวอร์ซัพพลายเริ่มเกิดขึ้นในปี 2555 ซึ่งมีประมาณ 3 แสนตัน และหลังจากนั้นเพิ่มสูงขึ้นตลอด ทำให้ราคายางแผ่นรมควันในปี 2554 ที่ดีมานด์มากกว่าซัพพลายประมาณ 2 แสนตัน ราคาพุ่งขึ้นถึง กก.ละ 180 บาท เริ่มลดต่ำลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันเหลือเพียง กก.ละ 64.50 บาท สำหรับยางแผ่นรมควันอัดก้อน และยางแท่งเหลือ กก.ละ 51 บาท


ที่ประชุมได้ลงมติ 1.จะจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้ายางพาราที่มีการส่งมอบกันจริงในภูมิภาค เพื่อซื้อสินค้ายางพาราประเภทกลางน้ำขึ้น ทั้งนี้ได้ให้บริษัท LMC ไปทำการศึกษาว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง 2.การเข้าแทรกแซงราคายางพาราจะต้องทำอย่างไร การกำกับนโยบายและมติต่าง ๆ ที่ออกมาต้องมีความชัดเจน 3.ควรมีการประชุมระดับรัฐมนตรีของ 3 ชาติในเรื่องยางพารา






แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เพื่อมิให้ราคายางพาราในไทยต่ำไปกว่านี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควรตั้งประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) และกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหายางโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดทำโครงสร้างตลาดซื้อขายส่งมอบสินค้าจริง ในยางพาราประเภทกลางน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีการจัดตั้งกองทุน ETF ที่ให้เกษตรกรนำยางที่แปรรูปมาฝากไว้ในโกดัง เพื่อให้ผู้ซื้อในประเทศมาซื้อหน้าโกดังหรือให้ต่างประเทศมาซื้อผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป หลังจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธาน กนย.ในรัฐบาลชุดก่อน สั่งให้ ก.ล.ต.ไปดำเนินการจัดทำ ดังนั้นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควรจะมีการตั้งประธาน กนย.คนใหม่ รวมทั้งกรรมการมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเร็ว โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีความเหมาะสมที่สุดในสายงานนี้


ในส่วนสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่ กนย.ให้ไปจัดทำโครงสร้างตลาดซื้อขายส่งมอบสินค้าจริง ประเภทวัตถุดิบหรือยางพาราต้นน้ำ ก็ควรนำมาเสนอต่อ กนย.พร้อมกัน รวมทั้งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (เอเฟต) ควรพิจารณาสร้างมาร์เก็ตเมกเกอร์ เพื่อสร้างวอลุ่มหรือปริมาณซื้อขายยางพาราล่วงหน้าให้มากกว่านี้ เพื่อให้เกิดการอ้างอิงราคาซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในไทย แทนตลาดล่วงหน้าโตเกียว เซี่ยงไฮ้ และสิงคโปร์มากขึ้น


"การจัดตั้งกองทุน ETF ที่ให้เกษตรกรนำยางที่แปรรูปมาฝากไว้ในโกดัง เพื่อให้ผู้ซื้อในประเทศมาซื้อหน้าโกดังเก็บ หรือให้ต่างประเทศมาซื้อผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดซื้อขายวัตถุดิบยางพาราส่งมอบกันจริงในระดับท้องถิ่น และการสร้างวอลุ่มซื้อขายยางล่วงหน้าในตลาดเอเฟต หากดำเนินการได้เร็วจะเป็นการสร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลางที่กดราคารับซื้อในปัจจุบันค่อนข้างมาก รวมทั้งคานอำนาจกับตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าในญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์มากขึ้น เพราะล่าสุดนักลงทุนซื้อขายยางล่วงหน้าในจีนที่เล่นมาร์จิ้นกู้เงินจากบริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายยาง ถูกบังคับขายสัญญายางเพราะราคาลดลงเกินกติกาซื้อขายจำนวนมาก ทำให้ราคายางที่จีนต่ำกว่าในไทย"


นอกจากนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายให้ประสานงานการกู้เงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ระหว่างสถาบันเกษตรกรกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำเงินไปจัดซื้อเครื่องจักรหรือปรับปรุงเครื่องจักรเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบยางพารา และกระทรวงอุตสาหกรรมที่รับผิดชอบประสานงานการกู้เงินระหว่างโรงงานแปรรูปยางพารากับธนาคารออมสิน วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ควรเร่งดำเนินการเรื่องนี้โดยเร็ว เพื่อมิให้เกษตรกรเดือดร้อนมากไปกว่านี้ เพราะปริมาณยางพาราที่ล้นเกินความต้องการจะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ แหล่งข่าวกล่าว