ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่? 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1574 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันอังคารที่  4  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเกือบทั่วไปร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมตัดสินใจดำเนินการปรับเพิ่มภาษีรอบ 2 รายงานระบุว่า หากรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเพิ่มอัตราภาษีเป็นร้อยละ 10 จากเดิมที่ร้อยละ 8 ในเดือนตุลาคม 2558 ตามแผนที่วางไว้ ยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศปีงบประมาณที่สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2560 มีแนวโน้มลดลงมาอยู่ที่ 4.55 ล้านคัน เมื่อเทียบกับช่วง 12 เดือนก่อนจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่มียอดจำหน่ายอยู่ที่ 5.69 ล้านคัน


3. เศรษฐกิจโลก


- มาร์กิตเปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตสหรัฐฯ เดือนตุลาคมลดลงแตะ 55.9 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จาก 57.5 จุดในเดือนกันยายน พร้อมเปิดเผย PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนเดือนตุลาคมปรับตัวขึ้นแตะ 50.6 จุด จากเดือนกันยายนซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือนที่ระดับ 50.3 จุด แต่ขยับลงจากตัวเลขเบื้องต้นเดือนตุลาคมที่ 50.7 จุด ชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงเข้าใกล้ภาวะชะงักงัน


- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 59.0 จาก 56.6 จุดในเดือนกันยายน บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังคงเป็นแกนหลักสำคัญในการหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ


- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีนเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนตุลาคมชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยดัชนีปรับตัวลดลงแตะระดับ 53.8 จุด จาก 54.0 จุดในเดือนกันยายน


- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนตุลาคมขยับขึ้นเล็กน้อย แตะที่ 50.4 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จาก 50.2 จุดในเดือนกันยายน แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับข้อมูลเบื้องต้น


- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเยอรมันเดือนตุลาคมอยู่ที่ 51.4 จุด หลังจากแตะระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือนที่ 49.9 จุดในเดือนกันยายน ถือเป็นสัญญาณว่าสภาวะการดำเนินงานในภาคการผลิตของเยอรมันกลับสู่การขยายตัวอีกครั้ง ขณะที่ PMI ภาคการผลิตฝรั่งเศสปรับตัวลดลงแตะ 48.5 จุดในเดือนตุลาคม จาก 48.8 จุดในเดือนกันยายน บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของฝรั่งเศสยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.68 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 113.60 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.84 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 78.78 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.76 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าซาอุดิอาระเบียปรับลดราคาน้ำมันดิบที่ส่งออกให้กับสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 84.78 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.08 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 192.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 199.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.7 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 168.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคก่อสร้างเดือนกันยายนปรับตัวลงร้อยละ 0.4 อยู่ที่ 9.509 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน


- นักวิเคราะห์ระบุว่า ตลาดที่อยู่อาศัยของจีนจะอยู่ในแนวโน้มขาลงต่อไปในไตรมาส 4 แต่ก็คาดว่าจะชะลอตัวในอัตราที่ช้าลง โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนระบุว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ช่วงเดือนมกราคม - กันยายน ปรับตัวลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์สำหรับพักอาศัยลดลงร้อยละ 10.8


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคาน่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย เพราะราคาในระยะนี้ซื้อเกินความเป็นจริงถึง 2 - 3 บาท อย่าไรก็ตาม ผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคายางในระยะนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณยางและความต้องการของผู้ซื้อ หากปริมาณยางยังมีน้อยราคาก็น่าจะปรับสูงขึ้นได้อีก


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ประกอบกับได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะซบเซาของภาคการผลิตในยูโรโซน จีน และข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนของสหรัฐฯ ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศรอติดตามข่าวเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด เพราะยังมีแรงหนุนจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า รวมทั้งอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย








ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา