ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 973 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88298
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพฤหัสบดีที่  26  มีนาคม  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง กับมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค


2. การใช้ยาง


- บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ 3 แห่งของญี่ปุ่น คือ โตโยต้า มอเตอร์ นิสสัน มอเตอร์ และฮอนด้า มอเตอร์ เปิดเผยยอดการผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นประจำเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นการตอกย้ำว่าการขึ้นภาษีบริโภคเมื่อเดือนเมษายน 2557 ได้ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าราคาแพง รวมถึงรถยนต์ด้วย โดยโตโยต้า มอเตอร์ เปิดเผยว่ายอดการผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 275,839 คัน ขณะที่ยอดจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 17.6 อยู่ที่ 113,360 คัน ขณะที่นิสสัน มอเตอร์ เปิดเผยว่ายอดการผลิตรถยนต์ในประเทศปรับลดลงร้อยละ 2.2 และยอดจำหน่ายลดลงร้อยละ 21.5 ส่วนยอดการผลิตฮอนด้า มอเตอร์ ลดลงร้อยละ 32.6 และยอดจำหน่ายลดลงร้อยละ 16.9


3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ลดลง ส่งสัญญาณว่าภาคธุรกิจยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ท่ามกลางภาวะอุปสงค์โลกที่ซบเซา รายงานของกระทรวงระบุว่ายอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนดังกล่าว


- สถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเยอรมันปรับตัวขึ้นแตะระดับ 107.9 ในเดือนมีนาคม จากระดับ 106.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นการปรับขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557


- สำนักงานสถิติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของฝรั่งเศสลดลงเล็กน้อย แตะ 99.0 ในเดือนมีนาคม จากระดับ 100.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยกลุ่มผู้ประกอบการระบุว่ากิจกรรมการผลิตยังค่อนข้างทรงตัว


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.58 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 119.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.31 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 49.21 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในเยเมน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้สัญญาน้ำมันปรับขึ้น แม้มีรายงานว่าสต๊อคน้ำมันของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดการณ์ก็ตาม


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดที่ 56.48 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.37 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่น้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่นลดลง ทั้งนี้ สต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 8.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 466.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 80 ปี


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายน อยู่ที่ 215.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 214.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 172.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- ดอยซ์ แบงค์ คาดการณ์ว่า การที่รัฐบาลกรีซขาดสภาพคล่องอาจจะนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ มูลค่า 460 ล้านยูโร (502.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ในวันที่ 9 เมษายน 2558


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เสียงแตกกรณีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์และซานฟานซิสโก กล่าวว่า เฟดควารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะที่ประธานสาขาแอตแลนต้า และชิคาโก กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปถือเป็นความเสี่ยงมากที่สุดสำหรับเฟด เนื่องจากโอกาสที่จะเกิดภาวะผันผวนจนกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศจะยิ่งสูงตามไปด้วย


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางยังคงทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงมากในระยะนี้ โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคายางอยู่ในระดับ 170 - 171 เซนตสหรัฐต่อกิโลกรัม ถ้าเสนอขายสูงกว่านี้ก็ไม่มีผู้ซื้อ หากถามซื้อในราคาต่ำกว่านี้ก็ไม่มีผู้ขาย และหากจะให้ราคาสูงขึ้นก็ต้องให้มีปัจจัยบวกที่ชัดเจน และใช้เวลานานจึงจะส่งผลต่อราคายาง เช่น เกิดภาวะแห้งแล้งยาวนาน การเปิดกรีดรอบใหม่ช้ากว่าปกติ ทำให้ผลผลิตขาดแคลนยาวนานขึ้น


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่า และนักลงทุนขาดความมั่นใจหลังจากสหรัฐฯ และจีน เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา


 


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 27, 2015, 12:03:50 PM โดย Rakayang.Com »