« เมื่อ: เมษายน 09, 2015, 12:15:41 PM »
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
[/t]วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - ประเทศไทยตอนบนเกิดพายุฤดูร้อน มีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ | 2. การใช้ยาง | - บริษัทฮอนด้า มอเตอร์ แถลงว่า บริษัททุ่มเงิน 9.65 พันล้านรูปี (156 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ลงทุนในอินเดียเพื่อขยายประสิทธิพภาพการผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์ในการรองรับอุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทในอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรถยนต์ทั้งปีขึ้นร้อยละ 50.0 สู่ 180,000 คัน ภายในกลางปีหน้า ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรถยนต์ของบริษัทสู่ 300,000 คันต่อปี | 3. เศรษฐกิจโลก | - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า เฟดยังคงสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ถ้าหากข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้ถึงการขยายตัวในช่วง 2 เดือนข้างหน้า ถึงแม้เศรษฐกิจอยู่ในภาวะอ่อนแอในช่วงต้นปี - สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจยุโรปต่างเห็นพ้องกันว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะฟื้นตัวเล็กน้อยในปีนี้ จากการประเมินที่ว่ากรีซและประเทศเจ้าหนี้จะสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาหนี้ ทั้งนี้สถาบัน Ifo และสำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสและอิตาลีรายงานเศรษฐกิจยูโรโซนจะมีการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาส 1 - 3 ของปีนี้ หลังจากที่เติบโตร้อยละ 0.2 และ 0.3 ในไตรมาส 3 และ 4 ปีที่แล้ว - นักวิจัยมหาวิทยาลัยของจีนเปิดเผยว่า เป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจรัฐบาลจีนประมาณร้อยละ 7.0 ในปี 2558 ทำให้มีโอกาสเพียงพอสำหรับการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างต่อไปในจีน - รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจเดือนมีนาคมปรับตัวดีขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 12 เดือน ขณะที่ผลกระทบในแง่ลบจากการปรับขึ้นภาษีบริโภคครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน 2557 ค่อย ๆ ลดลง โดยความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2.1 จุด มาแตะที่ 52.2 จุดในเดือนมีนาคม - สำนักงานสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ของกลุ่มยูโรโซนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนมกราคม หลังจากที่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันถึง 4 เดือน บ่งชี้ว่ากำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงก่อนหน้านี้อาจเริ่มอ่อนแรง - กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ยอดคำสั่งซื้อภาคการผลิตเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการหดตัวสวนกระแสคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ หลังคำสั่งซื้อจากต่างประเทศและคำสั่งซื้อล๊อตใหญ่อ่อนแรงลง - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายผ่อนคลายการเงินและการประเมินเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งระบุว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวในระดับปานกลาง - รัฐบาลอิตาลีเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งล่าสุดสำหรับปี 2558 - 2559 หลังจากได้ทบทวนเอกสารทางเศรษฐกิจและการเงินระยะเวลา 3 ปี ซึ่งจะมีการอนุมัติในวันที่ 10 เมษายน 2558 โดยรัฐบาลอิตาลีคาดว่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2558 จะขยายตัวร้อยละ 0.7 ปรับขึ้นจากร้อยละ 0.6 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้ว [/size]- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวลดลง และอีก 5 ปีข้างหน้ายังไม่ฟื้นตัวเท่าก่อนเกิดวิกฤตการเงินโลก ซึ่งผลวิจัยระบุว่า[/size]- เศรษฐกิจประเทศที่พัฒนาแล้วจะขยายตัวราวร้อยละ 1.3 ในปี 2551 - 2557 เป็นร้อยละ 1.6 ในปี 2558 - 2563 แต่ยังนับว่าต่ำกว่าระดับก่อนที่จะเกิดวิกฤตการเงิน ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ระหว่างปี 2544 ? 2550
- เศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่น่าจะชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.5 ระหว่างปี 2551 - 2557 เป็นร้อยละ 5.2 ในปี 2558 - 2563 หลังจากที่กลุ่มผู้สูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ประกอบกับการลงทุนลดลง และภาคการผลิตชะลอตัวลง เนื่องจากช่องว่างระหว่างเทคโนโลยีระหว่างตลาดเกิดใหม่กับประเทศพัฒนาแล้วเริ่มลดลง
| [/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.59 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 120.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.07 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]5. ราคาน้ำมัน | [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 50.42 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 3.56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ สัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดที่ 55.55 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 3.55 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ สัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 10.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 482.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.4 ล้านบาร์เรล | [/size]6. การเก็งกำไร | [/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 200.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 196.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.8 เยนต่อกิโลกรัม- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 167.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]7. ข่าว | [/size]- บริษัทหลักทรัพย์ โกลแบล็ค มองราคาทองผันผวนหลังรับข่าวเชิงบวกที่อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เตือนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปจะกระทบต่อเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว กอปรกับธนาคารกลางยุโรปประกาศเพิ่มเพดานเงินกู้ให้กรีซ ทำให้ความน่าสนใจของสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำลดน้อยลงไป- โตเกียว โซโกะ รีเสิร์ซ เผยยอดบริษัทล้มละลายในญี่ปุ่นปีงบประมาณ 2557 ลดลงร้อยละ 9.4 แตะ 9,543 บริษัท ซึ่งเป็นสถิติที่ต่ำกว่าระดับ 10,000 บริษัทเป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปี | [/size]8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศที่กดดันราคายางอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันและความผันผวนของค่าเงิน อย่างไรก็ตามราคายางไม่ปรับลดลงมากในระยะนี้ เพราะผลผลิตมีน้อยมากขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายยังมีความต้องการซื้อเพื่อเก็บสต๊อค เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง อาจส่งผลให้การเปิดกรีดฤดูกาลใหม่ต้องเลื่อนออกไป | [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวลดลง และอีก 5 ปีข้างหน้ายังไม่ฟื้นตัวเท่ากับก่อนเกิดวิกฤตการเงินโลก อย่างไรก็ตาม ผลผลิตที่ลดลงในฤดูยางผลัดใบและเงินเยนอ่อนค่ายังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
[/size] [/size] [/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา[/color] [/list] |
[/tr][/table][/td][/tr][/table]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 09, 2015, 12:17:25 PM โดย Rakayang.Com »