ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 893 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82843
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  14  กันยายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ
 
- จากอิทธิพลมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือยังคงทำให้ภาคกลาง   ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกได้ในระยะนี้ โดยภาคใต้มีฝนกระจายร้อยละ 60   ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2.การใช้ยาง
 
- บริษัท   โตโยต้า ประเทศไทย จำกัด รายงานว่า สถิติการขายรถยนต์เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา   มีปริมาณขายทั้งสิ้น 60,863 คัน ลดลงร้อยละ 12.5 ขณะที่ตลาดรถยนต์ช่วง 7 เดือนแรกปี   2558 มีปริมาณการขาย 429,972 คัน ลดลงร้อยละ 15.0   เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 ส่วนตลาดรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2558   มีแนวโน้มทรงตัว
 
3.สต๊อกยาง
 
- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 11 กันยายน 2558 มีจำนวน 194,946 ตัน เพิ่มขึ้น 1,280 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 จากระดับ 193,666 ตัน ณ วันที่ 4 กันยายน 2558
- สต๊อกยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31   สิงหาคม 2558 ลดลง 418 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4.35 และต่ำสุดที่ 9,182 ตัน จาก   9,600 ตัน ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2558
 
4.เศรษฐกิจโลก
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทรงตัวในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนกรกฎาคม ดัชนีที่ทรงตัว บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำท่ามกลางการลดลงของราคาน้ำมัน
- ผลสำรวจของ มหาวิทยาลัยมิชิแกน   ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เบื้องต้นเดือนกันยายนลดลงสู่ระดับ 85.7 โดยต่ำกว่า 91.9 ซึ่งเป็นตัวเลขขั้นสุดท้ายของเดือนสิงหาคม และต่ำกว่าระดับ   91.1 ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
- สำนักงานสถิติของเยอรมนี   รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบครึ่งปี   ในเดือนสิงหาคม อันเนื่องจากการดิ่งของราคาพลังงาน ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน   เปิดเผยว่า
 
  • ผล ผลิตมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ   6.1 เมื่อเทียบรายปีในเดือนสิงหาคม ซึ่งเพิ่มจากระดับร้อยละ 6.0 ในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
  • ยอด การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ช่วง   8 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่ายอดการลงทุนในช่วง   11 เดือน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 11.2 โดยอัตราการขยายตัวในช่วง 8 เดือนแรกนั้น ชะลอตัวลงจากระดับร้อยละ 11.2 ในช่วง 7 เดือนแรก
  • ยอด ค้าปลีกเดือนสิงหาคม   ขยายตัวร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับร้อยละ   10.5 ในเดือนกรกฎาคม ส่วนในช่วง 8 เดือนแรก ยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 10.5
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่   36.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
-   เงินเยนอยู่ที่ 120.61  เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.22   เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 44.63 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.29 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากที่โกลด์แมน   แซคส์ ออกรายงานคาดการณ์ราคาน้ำมัน เนื่องจากปริมาณน้ำมันล้นตลาด และเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง
-   ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนตุลาคม ที่ตลาดลอนดอนลดลง 0.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ   ปิดที่ 48.14 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
 

 
- โกลด์แมน   แซคส์ คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะมีราคาอยู่ที่ 48.10 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ในปีนี้ลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 52.0 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นอกจากนั้นยังได้ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในปีหน้าสู่ระดับ 45.0 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 57.0   ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุว่า ราคาน้ำมันโลกที่ตกต่ำจะทำให้ผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ลดการขุดเจาะน้ำมันลงอย่างมากในปีหน้า ส่งผลให้การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯลดลง 400,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดการณ์ว่า การผลิตน้ำมันนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก)   จะลดลง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 57.7 ล้านบาร์เรลในปี 2559
 
7.   การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม 2558 อยู่ที่ 169.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 178.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM  หยุดทำการในวันที่ 11 กันยายน 2558
 
8. ข่าว
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า   ยอดการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 3.5   เมื่อเทียบรายปี แตะ 6.11 ล้านล้านหยวน ซึ่งต่ำกว่าการขยายตัวในช่วง 7 เดือนแรก
- รัฐมนตรีคลังเยอรมนีได้ออกโรงเตือน เรื่องภาวะฟองสบู่ในตลาดการเงินอันเนื่องมาจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจโดยธนาคารกลางของประเทศต่าง   ๆ
 
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางน่าจะทรงตัวเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ   ๆ  อย่างไรก็ตาม จากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกในหลายพื้นที่และผู้ประกอบการหลายรายยังคงขาดแคลน วัตถุดิบ   อาจจะทำให้ราคายางสูงขึ้นได้เล็กน้อยในระยะนี้
 
  แนวโน้ม ราคายางราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ประกอบกับกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงและการชะลอซื้อของนักลงทุนเพื่อรอดู การประชุมนโยบายการเงินของเฟดในสัปดาห์นี้ (16-17 กันยายน 2558)


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา