วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยมีกำลังแรง ทำให้ตอนบนของประเทศมีฝนหนาแน่นและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ยางแผ่นดิบ (Crude Rubber) คงเหลือ ณ ท่าเรือญี่ปุ่น วันที่ 20 กันยายน 2558 มีจำนวน 12,184 ตัน ลดลง 348 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.78 จากระดับ 12,532 ตัน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558
3. เศรษฐกิจโลก
- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจเดือนสิงหาคมซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อ โดยรายงานระบุว่าดัชนีพ้องเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตอุตสาหกรรม การค้าปลีก และการจ้ารงงานใหม่ ปรับตัวลดลง 0.6 จุดจากเดือนกรกฎาคม แตะที่ 112.5 จุด เมื่อเทียบกับฐาน 100.0 ในปี 2553
- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันรายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.2 โดยลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับลงเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากผลผลิตสินค้าประเภททุนปรับลดลงอย่างมาก
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ และได้คงระดับการประเมินเศรษฐกิจ โดยระบุว่า ?เศรษฐกิจฟื้นตัวปานกลาง? แม้แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังคงซบเซาก็ตาม
- รายงานฉบับล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุ IMF มีความเชื่อมั่นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนจะขยายตัวร้อยละ 6.5 - 7.5 ในปี 2558
- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน ลดลง 4.326 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ แตะที่ 3.51 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็นการปรับลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า ความเสี่ยงใหญ่ที่สุดต่อเศร่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มประเทศผลิตของจีนกระเตื้องขึ้นเล็กราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกพากันหลีกเลี่ยงการษฐกิจโลกขณะนี้อยู่ที่ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งบริษัทเอกชนได้ก่อหนี้จำนวนมาก ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน โดยความเสี่ยงเกิดจากภาวะตื่นตระหนกจากการล้มละลายของภาคเอกชนในตลาดเกิดใหม่จะลุกลามไปยังตลาดการเงินทั่วโลก
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.96 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.26 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 119.92 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.41 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายนปิดตลาดที่ 47.81 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.72 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว และปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดที่ 51.33ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 3.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 161.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 171.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 132.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก คาดว่าเฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ แม้ในช่วงที่ผ่านมาสหรัฐฯ มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
- สภาพทองคำโลกรายงานว่า เดือนสิงหาคมธนาคารกลางหลายแห่งได้ซื้อทองคำรวม 47 ตัน ไว้ในทุนสำรองของประเทศ หลังจากมีการซื้อทองคำ 62 ตันในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้จีนและรัสเซียเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของโลก
- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ไว้ที่ ?Aaa? แนวโน้มมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดในการจัดอันดับของมูดี้ส์ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวที่แข็งแกร่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมทั้งสถานภาพของเงินดอลล่าร์สหรัฐ และพันธบัตรรัฐบาลซึ่งได้รับการยอมรับในฐานะเป็นสกุลเงินสำรองของโลก
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคายางในระยะนี้ไม่เปลี่ยนแปลงมาก เพราะซื้อเกินราคามานาน ขณะที่ผู้ซื้อยังซื้อในราคาต่ำ ดังนั้นจะให้ซื้อสูงกว่านี้ก็ไม่ได้ เพราะราคาต่างประเทศไม่เคลื่อนไหวและผันผวนมาตลอด ทำให้ซื้อขายยากมากในระยะนี้
?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่หลายราย เช่น จีน สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ยังคงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมยังไม่มีปัจจัยชี้นำหรือกดดันราคายางที่ชัดเจน ทำให้ในระยะนี้ราคายางยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา