ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 942 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88334
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  1  ธันวาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้ยังคงมีฝนกระจายและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ส่งผลต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การผลิตรถยนต์ รถบรรทุก และรถบัส เดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 813,110 คัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 817,080 คัน เป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน สำหรับอุปสงค์รถยนต์ภายในประเทศอยู่ที่ 380,089 คัน ลดลงร้อยละ 4.1

3. เศรษฐกิจโลก


- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน และสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพฤศจิกายนลดลงแตะ 49.6 จาก 49.8 ในเดือนตุลาคม บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนย่ำแย่ลง ขณะที่ภาคบริการอยู่ที่ 53.6 จาก 53.1 ในเดือนตุลาคม

- กระทรวงสถิติของอินเดียเปิดเผยว่า เศรษฐกิจอินเดียมีการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในเดือนไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ (กรกฎาคม - กันยายน) เทียบกับไตรมาสแรก (เมษายน - มิถุนายน) ที่ร้อยละ 7.0 โดยอินเดียมีการขยายตัวมากกว่าจีนในช่วงไตรมาสเดือนกรกฎาคม - กันยายน ซึ่งเศรษฐกิจจีนขยายตัวเพียงร้อยละ 6.9

- สำนักงานสถิติเยอรมันรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤศจิกายนขยับขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยตัวเลขดัชนี CPI สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานว่า การส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ ทั้งนี้การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกในปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 21.0 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ตัวเลขเกินดุลการค้าของเยอรมันต่อสหรัฐฯ พุ่งขึ้นแตะ 4.16 หมื่นล้านยูโร

- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเขตชิคาโกปรับตัวลดลงสู่ระดับ 48.7 ในเดือนพฤศจิกายน จาก 56.2 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงอย่างมาก

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาดัลลัส เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมการผลิตในรัฐเท็กซัสเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับ 5.2 ในเดือนพฤศจิกายน จาก 4.8 ในเดือนตุลาคม บ่งชี้ถึงภาคการผลิตเริ่มมีเสถียรภาพในรัฐเท็กซัส ขณะที่ต้องพึ่งพาการผลิตน้ำมันอย่างมาก

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.83 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 123.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.43 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีมติอนุมัติให้นำสกุลเงินหยวนเข้าสู่ตระกร้าสกุลเงิน SDR (Special Drawing Right) โดยมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคมปีหน้า ส่งผลให้เงินหยวนได้รับการยกสถานะในเวทีการเงินโลกเทียบเท่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ ปอนด์ ยูโร และเยน ที่ได้รับการอนุมัติไว้ก่อนหน้านี้

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดตลาดที่ 41.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.06 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่นักลงทุนจับตาดูผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ในวันศุกร์นี้ โดยมีการคาดการณ์ว่าที่ประชุมจะคงโควต้าการผลิตที่ระดับเดิม

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดที่ 44.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.25 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 159.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 164.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 124.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายขยับขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน อยู่ที่ 107.7 ในเดือนตุลาคม บ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตมีน้อย โรงงานส่วนใหญ่เริ่มขาดแคลนวัตถุดิบต้องเร่งซื้อ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นไม่มากในระยะนี้ เพราะอยู่ในช่วงใกล้สิ้นปี ต้องรอดูสถานการณ์หลังปีใหม่คาดว่าจะชัดเจนขึ้น

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวจากการอ่อนค่าของเงินเยน และอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย เพราะภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ประกอบกับสต๊อคยาง ณ ตลาดเซี่ยงไฮ้ของจีน ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ลดลงมาอยู่ที่ 191,473 ตัน จากสต๊อคเดิม 230,759 ตัน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 อย่างไรก็ตาม ราคายางปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เพราะมีปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และราคาน้ำมันปรับตัวลดลง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา