วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณทางตอนบนของภาค ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนเล็กน้อย ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกรรโชกแรง เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงและเริ่มหนาวเย็นลงอีก
2. การใช้ยาง
- บริษัทโตโยต้า ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการจำหน่ายรถยนต์เดือนตุลาคมมีจำนวน 67,910 คัน ลดลงร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดรถยนต์สะสม 10 เดือน มีจำนวน 621,742 คัน ลดลงร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. เศรษฐกิจโลก
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน เดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 48.6 จาก 48.3 ในเดือนตุลาคม
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านทุนของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นปรับตัวขึ้น 11.2 ในไตรมาส 3 ปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6.75 หลังจากที่ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 ในการประชุมครั้งก่อน
- สำนักงานสถิติแห่งชาติบราซิลรายงานว่า เศรษฐกิจบราซิลไตรมาส 3 หดตัวลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบรายไตรมาส ย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ร้อยละ 1.2 ส่งผลให้บราซิลประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปี
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) พบว่า ภาคการผลิตเดือนพฤศจิกายนหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2555 ทั้งนี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของ ISM ลดลงสู่ร้อยละ 46.8 ในเดือนพฤศจิกายน จากร้อยละ 50.1 ในเดือนตุลาคม ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ
- เรดบุ๊ค รีเสิร์ซ รายงานว่า ดัชนีค้าปลีกจอห์นสัน เรดบุ๊ค ซึ่งเป็นยอดจำหน่ายของร้านค้าที่มีเครือข่ายทั่วประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม
- ผลสำรวจของมาร์กิต อิโคโนมิกส์ ระบุว่า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตยูโรโซนเดือนพฤศจิกายนปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 52.8 จาก 52.3 ในเดือนตุลาคม และทรงตัวจากรายงานเบื้องต้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเยอรมันเดือนพฤศจิกายนปรับตัวขึ้นแตะ 52.9 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จาก 52.1 ในเดือนตุลาคม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอิตาลีเดือนพฤศจิกายนปรับตัวขึ้นแตะ 54.9 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน จาก 54.1 ในเดือนตุลาคม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตฝรั่งเศสเดือนพฤศจิกายนทรงตัวที่ 50.6 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันค
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.76 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.07 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 122.92 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.28 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดตลาดที่ 41.85 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ในวันศุกร์นี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าโอเปคจะตรึงเพดานการผลิตไว้ที่ระดับเดิม
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดที่ 44.44 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 162.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 167.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.7 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 125.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานว่า อัตราว่างงานของเยอรมันเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 6.0 พร้อมเปิดเผยจำนวนคนว่างงานลดลง 16,000 ราย อยู่ที่ 2.63 ล้านราย เมื่อมีการปรับค่าตามปัจจัยฤดูกาล อัตราว่างงานลดลงสู่ร้อยละ 6.3 จากร้อยละ 6.4 ในเดือนตุลาคม
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า อัตราว่างงานในสหภาพยุโรปเดือนตุลาคมปรับตัวลดลงสู่ร้อยละ 10.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี จากร้อยละ 10.8 ในเดือนกันยายน ขณะที่อัตราว่างงานลดลงร้อยละ 0.8 นับตั้งแต่ต้นปี และอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2555
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งขึ้นมากกว่าคาดในเดือนตุลาคม โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 สู่ระดับ 1.11 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 หรือในรอบ 8 ปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนกันยายน
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศ และปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขาดแคลนวัตถุดิบต้องเร่งซื้อ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่า และอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย รวมทั้งนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากผลสำรวจภาคการผลิตหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเดินหน้าผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซนในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา